“กฟผ.” ผนึกกำลัง “ผลิตไฟฟ้าราชบุรี” ลุยลงทุนในเวียดนาม-พม่า-ลาว
“กฟผ.” ผนึกกำลัง “ผลิตไฟฟ้าราชบุรี” ลุยลงทุนในเวียดนาม-พม่า-ลาว หวังสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ และสามารถเชื่อมโยงกันทั้งอาเซียนได้ในอนาคต นายธนา พุฒรังษี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า บริษัท ซึ่ง กฟผ. 99.99% ได้ปรับเป้าหมายการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องธุรกิจพลังงาน โดยในส่วนของธุรกิจไฟเบอร์ออปติกนั้น ได้หารือกับลาว และเห็นร่วมกันว่า ใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกันมาให้ก่อประโยชน์ และสามารถเชื่อมโยงกันทั้งอาเซียนได้ในอนาคต เป็นการเสริมความมั่นคงของระบบโทรคมนาคมของลาว นอกเหนือจากที่ปัจจุบันใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำจากฮ่องกง-สิงคโปร์เท่านั้น โดยลาวให้ความสนใจและให้ทางบริษัทเสนอรายละเอียดไป นอกจากนี้ การทำธุรกิจระยะยาวของบริษัท แม้เรื่องหลักจะเน้นการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าทั้งพลังงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลัก และพลังงานทางเลือก แต่จะพิจารณาไปถึงธุรกิจค้าขาย และลงทุนในก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี และถ่านหิน เพราะเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจสายส่งและบำรุงรักษา พร้อมจะร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ ในส่วนของธุรกิจผลิตไฟฟ้าจะพิจารณาทั้งโครงการลงทุนใหม่ และซื้อกิจการแล้วแต่ความเหมาะสม เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เดินทางไปเวียดนาม และพม่าเพื่อหารือเรื่องการลงทุน โดยในพม่า ทางบริษัทได้ร่วมทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำฮัจยี เป้าหมายแล้วเสร็จปี 2562 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำมายตง ได้หารือและเสนอให้รัฐบาลพม่า เร่งรัดการจัดทำผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ของโครงการมายตงให้แล้วเสร็จ และจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการมายตงเดือน ก.ย.นี้ เพื่อให้ทันกำหนดขายไฟฟ้าในปี 2569-2571 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าในเวียดนาม เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้ากวางจิ (Quang Tri) ในจังหวัดกวางจิ อยู่ในภาคกลางประเทศเวียดนาม กำลังการผลิต 1,200 เมกะวัตต์ โดยทางเวียดนามต้องการให้ไทยโดยทางบริษัทดำเนินการทั้งหมด มีมูลค่า 69,750 ล้านบาท แต่เนื่องจาก กฟผ. มีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุนจึงกำลังเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม เพื่อขอลดสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการลงเหลือ 40% แล้วให้บริษัทลูกในเครือ กฟผ. เข้ามาร่วมถือหุ้นกับ กฟผ.สัดส่วนรวมกันแล้วมากกว่า 60% ส่วนจำนวนหุ้นที่เหลืออาจเป็นผู้ถือหุ้นที่มีความพร้อม โดยโครงการนี้คาดจะก่อสร้างแล้วเสร็จขายไฟฟ้าในปี 2562 ปัจจุบัน โครงการของ กฟผ.อินเตอร์ที่มีลงนามข้อตกลงทางธุรกิจนอกจาก 3 โครงการแล้ว ยังมีโครงการพลังน้ำน้ำเงี้ยบ ในลาว กำลังผลิต 289 เมกะวัตต์ กำหนดขายไฟฟ้า ปี 2562 เนื่องจากวงเงินลงทุนโครงการแต่ละแห่งมีมูลค่าสูง และอาจเกินกรอบวงเงินที่ ครม.เห็นชอบให้ กฟผ.สามารถเพิ่มทุนให้แก่ กฟผ.อินเตอร์ ในกรอบ 17,000 ล้านบาท ดังนั้น ทางบริษัทจึงจะเสนอคณะกรรมการพิจารณาว่า แต่ละโครงการที่เข้าไปลงทุนจะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัทในเครือ ของ กฟผ. คือ เอ็กโก้ กรุ๊ป หรือ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี เพื่อให้การลงทุนเดินหน้า ใช้ความเชี่ยวชาญของกลุ่ม กฟผ.ทำงานร่วมกัน และเกิดประโยชน์ต่อการสร้างรายได้ และความมั่นคงแก่ประเทศ |
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ manager.co.th ดูทั้งหมด
250
views
Credit : manager.co.th
News