นักวิชาการเตือน3ปีลงทุนพม่าที่ดินแพง-ค่าแรงพุ่ง
เปิดผลวิเคราะห์โอกาสการลงทุนในพม่า พบต้นทุนธุรกิจสูงขึ้นผิดปกติ เผยราคาที่ดินย่างกุ้งปีนี้ไร่ละ 128 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 ถึง 450%
เตือนระวังหลังเปิดเออีซีปี 59 ราคาพุ่งไร่ละ 232 ล้านบาท ส่วนค่าแรงคาดภายใน 3 ปีอยู่ที่ 250 บาททั่ประเทศ จากปัจจุบันอยู่ที่120-150บาทต่อวัน สวนทางสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังไม่มีปริสทธิภาพทั้งไฟฟ้า โลจิสติกส์ และความโปร่งใสต่ำ แนะรัฐเร่งเจรจาลดปัจจัยเสี่ยง ระบุพม่ายังน่าลงทุนเชื่อหลังปี58 จีพีดีจะขยายตัวเกิน 7%
นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์"การค้าและการลงทุนของพม่า หลังปี 2558 ว่า ต้นทุนการทำธุรกิจในพม่ากำลังมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ โดยค่าจ้างแรงงาน ในเมืองใหญ่มีค่าจ้างแรงงานต่อวันมากกว่า 120 บาทต่อวัน ขณะที่ในย่างกุ้งอยู่ที่ระดับ 150 บาทต่อวัน ซึ่งไม่รวมค่าสวัสดิการ การรับส่งพนักงาน และอาหารการกินที่ต้องมีให้พนักงาน โดยเชื่อว่าภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ค่าแรงในพม่าจะปรับขึ้นสูงถึง 250 บาทต่อวันทั่วประเทศ
ขณะที่ราคาที่ดินก็ปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 200-300 %โดยราคาที่ดินนอกเขตอุตสาหกรรมจะสูงกว่าในเขตอุตสาหกรรม ส่วนราคาซื้อขายและเช่าที่ดินในกรุงย่างกุ้งในปี 2552 อยู่ที่ราคาไร่ละ 15.5 ล้านบาท ในปี 2556 มีราคาอยู่ที่ไร่ละ128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 450% และในปี 2559 คาดว่าจะมีราคาอยู่ที่ไร่ละ 232 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 900% ส่วนที่ดินในเมืองมัณฑะเลย์ ในปี 2556 มีราคาอยู่ที่ไร่ละ 35.6 ล้านบาท และในปี2559 จะมีราคาสูงขึ้นอยู่ที่ 61.9 ล้านบาทต่อไร่ ส่วนราคาที่ดินในทวาย ในปี 2556 มีราคาอยู่ที่ไร่ละ 110 ล้านบาท และในปี 2559 จะมีราคา 140 ล้านบาทต่อไร่
เตือน3ปีค่าเช่าที่กรุงย่างกุ้งพุ่งพรวด
สำหรับสัญญาการเช่าที่ดินในกรุงย่างกุ้งในปี 2556 อยู่ที่ราคา 4.5 ล้านบาทต่อไร่ต่อปี ส่วนปี 2559 จะปรับสูงขึ้นอยู่ที่ 8.75 ล้านบาทต่อไร่ต่อปี โดยสัญญาเช่าที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษทีละวาจะมีราคาอยู่ที่ 2.5 ล้านบาทต่อไร่ต่อปี และในเขตทวายมีราคาอยู่ที่ 3.5 แสนบาทต่อไร่ต่อปี
นายอัทธ์ กล่าวว่า จากต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับดัชนีสิ่งอำนวยความสะดวกทางธุรกิจในพม่า โดยดัชนีโลจิสติกส์พม่า จัดว่าอยู่ในระดับต่ำมาก เทียบกับประเทศต่างๆในอาเซียน โดยพม่าอยู่ในระดับ 2.33 ขณะที่กัมพูชาอยู่ที่ 2.37 ลาว 2.46 เวียดนาม 2.96 เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าพบว่ายังเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมและครัวเรือน สอดคล้องกับเครือข่ายโทรศัพท์ ที่ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยราคาซิมการ์ดสำหรับคนพม่า เฉลี่ยอยู่ที่ 250-300 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะที่ชาวต่างชาติ เฉลี่ยที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ด้านประสิทธิภาพและความโปร่งใสของพม่าอยู่ในระดับต่ำ โดยการพิจารณาของธนาคารโลก เมื่อปี 2554 ซึ่งพิจารณา จากเกณฑ์ด้านความรับผิดชอบของภาครัฐ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของกติกาภายในประเทศ กฎหมาย คอร์รัปชั่น การปราศจากความรุนแรง โดยพบว่าพม่าอยู่ในระดับต่ำกว่า เกาหลีเหนือ กัมพูชา บังคลาเทศ และเวียดน