ก่อนเปิด AEC ภาษายังสำคัญอันดับ 1 สื่อสารได้ คือ “เข้าใจ” ลดอคติ คือ “สันติ”
เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนหรือเออีซี ประเทศเพื่อนข้างบ้านก็จะกลายมาเป็นเพื่อนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ภายใต้บ้านหลังใหญ่อย่าง "ประชาคมอาเซียน" ซึ่งคาดหวังให้เป็นครอบครัวเดียวกัน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม และการธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงในพื้นที่ เปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ เพื่อให้คนในบ้านมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยกำหนดให้พูดภาษาเดียวกัน
เหลือเพียง 700 กว่าวัน เท่านั้นที่ประตูบ้านแห่งเออีซีจะเปิดให้ทุกคนย้ายกระเป๋าเข้าอยู่ ซึ่งทุกฝ่ายต่างพยายามศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้เขา ให้เหมาะสมและไปด้วยกันกับเรา เพื่อประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
การเริ่มต้นเรียนรู้เพื่อนบ้านตั้งแต่วันนี้ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน คงไม่สายเกินไป เช่นเดียวกับน้องๆ เด็กและเยาวชน กว่า 30 ชีวิตกลุ่มนี้ ซึ่งมาจากทุกภูมิภาครวมตัวกันตามโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม รุ่นที่ 1 เป็นการดำเนินโครงการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ได้จัดหลักสูตรเรียนรู้เพื่อนบ้านและสร้างชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนบนฐานความหลากหลายทางภาษา เชื้อชาติและวัฒนธรรม เพื่อก้าวข้ามอคติทางประวัติศาสตร์ ความเกลียดชัง และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยเดินทางไปศึกษาดูงานประเทศกัมพูชาและพม่า โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม พร้อมมุ่งหน้าสู่ประเทศกัมพูชา และพม่า ด้วยโปรแกรมการศึกษาดูงานที่แน่นเอียด 11 องค์กร ในกัมพูชา และ 6 องค์กร ในพม่าไปทุกซอกทุกมุม เพื่อรู้เขาให้ได้ลึกและมากที่สุด
นางสาวสุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงที่มาที่ไปว่า โครงการนี้เกิดขึ้นเพราะต้องการให้เด็กและเยาวชนมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ทางสังคม มีทักษะชีวิต มีภาวะผู้นำที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะจึงต้องพัฒนาแกนนำ การสร้างองค์ความรู้ และหลักสูตรการเรียนรู้ รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเยาวชน ทั้งนี้เพื่อนำสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชน และองค์กรภาคี ให้เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กลุ่มผู้นำเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชน กลุ่มเยาวชนที่ขับเคลื่อนสังคมด้านต่างๆ องค์กรนักศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพัฒนาเยาวชน อายุระหว่าง 19-27 ปี หลักสูตรเรียนรู้เพื่อนบ้านและสร้างชุมชนอาเซียนเป็น 1 ใน 6 หลักสูตรของโครงการ ที่มีความจำเป็นอย่างมาก โดยการไปดูงาน 2ประเทศนี้ เพราะต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้ไปเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกของอาเซียน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องการให้เห็นสถานการณ์สำคัญทางการเมือง บทบาทภาคประชาสังคม และบทบาทของเยาวชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการขับเคลื่อนคิดค้นการทำงานในบทบาทของตนเองต่อไป และต้องการการสร้างเครือข่าย ขยายกลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่เฉพาะคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย แต่ต้องขยายไปยังประเทศระหว่างประชาคมด้วยกัน
นางสาวสุภาวดี เผยต่อว่า ด้วยปัญหาความท้าทายที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากคนไทยไปลงทุนทางธุรกิจค่อนข้าง มาก และประเด็นสำคัญคือประชาชนกับประชาชนด้วยกันยังมีอคติในด้านลบอยู่ จึงเห็นว่าการสร้างความเป็นเพื่อน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน การเคารพในความหลากหลาย ทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ การเมือง ชาติพันธุ ฯลฯ นำมาสู่การประสานความร่วมมือในอนาคต และเห็นว่าเยาวชนประเทศเพื่อนบ้านเขามีความตั้งใจมีอุดมคติแรงกล้าในการทำงานเพื่อสังคม เป็นการนำสู่การพัฒนาสังคมและความเป็นประชาธิปไตย จากที่ไปศึกษาดูงาน ผลลัพธ์ที่ได้รับอันดับแรกสร้างแรง บันดาลใจให้กับน้องๆ ในการกลับมามีพลังขับเคลื่อนงานในชุมชนต่อไป และสิ่งที่เยาวชนอยากพัฒนาศักยภาพของตนเองมากคือ เรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะเพื่อนพม่า กัมพูชา ภาษาอังกฤษดีมาก ส่วนประเด็นเรื่องสันติภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องรู้และเข้าใจว่า วันนี้เพื่อนกัมพูชาคิดอย่างไรเรื่องเขาพระวิหาร มีอะไรเกิดขึ้นในพม่าในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
“วันนี้ จำเป็นอย่างมากที่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยควรไปเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะได้แรงบันดาลใจ รู้ว่าเขาคิดอะไร มีศักยภาพอย่างไร เขาก้าวหน้าในบางเรื่องกว่าเราอย่างไร อย่าคิดว่าเราใหญ่ เราดีกว่าเขา เราเจริญกว่าเขา ดังนั้น เราจึงต้องคิดค้นในเชิงของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันว่าจะใช้และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างไร มีเพื่อนพม่าฝากมาถามเหมือนกันว่าการที่นักลงทุนไทยไปลงทุนในพม่าจำนวนมาก นักลงทุนได้ปฏิบัติบนพื้นฐานสำคัญ 2 ข้อของพม่าหรือไม่ 1.ไม่ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ2.เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ไปขับไล่ชุมชนดั้งเดิม ส่วนประเด็นเรื่องสันติภาพ กรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เราต้องก้าวข้าม ก้าวผ่าน ประวัติศาสตร์ที่ขมขื่น และนำมาเป็นบทเรียนได้ ขอย้ำว่าการไปเรียนรู้ เห็นจริง สัมผัสของจริง ว่าขณะนี้เหตุการณ์ของเขาเป็นอย่างไร คิดอะไร จะก้าวไปทางไหน สำคัญมาก” นางสาวสุภาวดี กล่าว
นายศุภไชย ไตรไทยธีระ อดีตประธานสภาเด็กและเยาวชน จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของประเทศกัมพูชา ได้เห็นความรัก ศรัทธาของคนกัมพูชาต่อศาสนาและความเชื่อ ซึ่งตนชื่นชมการทำงานการเคลื่อนไหวของสภาเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็งในการต่อสู่ต่อเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เลวร้ายมาได้อย่างน่าชื่นชม จึงเป็นการให้กำลังใจกันมากกว่า กรณีปัญหาชายแดน การแย่งชิงพื้นที่ ประเด็นเรื่องประวัติ ศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมา เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่มีมีอคติในเรื่องนี้ เพราะเด็กและเยาวชนไม่ได้เอาดินแดน ขอบเขตของพื้นที่มาเป็นเส้นแบ่งความสัมพันธ์ของความเป็นเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจะเป็นห่วงและให้ความสำคัญมากกว่า คือ ภาษา อังกฤษ เพราะเห็นชัดมากว่าเพื่อนกัมพูชาพูดภาษาอังกฤษและสื่อสารได้ดีมาก ดังนั้น ก่อนเปิดประตูบ้านของเราทุกคนในบ้านต้องสื่อสารได้ก่อน เพราะถ้ายังสื่อสารกันไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องยากที่จะไปเข้าใจประเด็นที่ลึกซึ้งในเรื่องอื่นๆ การจะไปทำความเข้าใจวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเป็นประวัติศาสตร์ และมองภาพของความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้เลย ถ้าพูดกันไม่รู้เรื่อง
ด้านนางสาวสุกัญญา กิ่งชา ครูสอนภาษาอังกฤษ ศูนย์การเรียนชุมชน กศน. เยาวชนจาก จ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า เป็นคนที่ไม่ได้ให้ความสนใจทางการเมืองมากนัก แต่เมื่อได้มาเรียนรู้การทำงานของกลุ่มเยาวชนของพรรค Youth Wing of NLD party (NLD) และองค์กรที่ทำงานด้านอาสาสมัครเป็นกลุ่มที่ทำงานเคลื่อนไหวทางสังคม วิธีการทำงานของเขากระทบใจ เพราะสิ่งที่ทำเพื่อต้องการส่งสารบอกเยาวชน และคนอื่นๆ ในสังคมที่อยากได้ประชาธิปไตย จากการที่เขาถูกกดขี่ข่มเหง มาเป็นเวลานาน สายตา แววตาที่ได้เล่าเรื่องราวที่ผ่านมาเห็นถึงความมุ่งมั่น เปิดใจทำให้เราอยากค้นหาและพร้อมเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานเรียนรู้ลึกถึงประวัติศาสตร์ จากที่ไม่สนใจระบบการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิดและบอกตัวเองว่าต้องรู้และสนใจการเมืองให้มากขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้สะท้อนและกระตุกความคิดมาก เพื่อนพม่าถามว่าประเทศของคุณเรียนภาษาพม่า เหมือนที่ประเทศพม่าเรียนภาษไทยหรือไม่ คำถามง่ายๆ แต่ตอบยากเหลือเกิน ระยะเวลาภายใน 2-3 ปี จะเข้าสู่ AEC จะทันใหม่ถ้าอยากจะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาของประเทศไทย เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ เพราะเราถูกสอนให้เรียนเพื่อสอบให้ผ่าน เรียนให้ได้ใบประกาศ แต่ใช้อะไรไม่ได้ การคาดหวังให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารเมื่อเปิดอาเซียน แต่เรายังอายไม่มีทักษะการพูด กล้าพูด ผิดกับประชาชนของพม่าเก่งภาษามากกว่าเราสื่อสารได้ ดังนั้น สิ่งแรกต้องการให้เน้นเรื่องภาษา ก่อนจะเปิดอาเซียน
การเริ่มต้นเรียนรู้เพื่อนบ้านตั้งแต่วันนี้ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน คงไม่สายเกินไป เช่นเดียวกับน้องๆ เด็กและเยาวชน กว่า 30 ชีวิตกลุ่มนี้ ซึ่งมาจากทุกภูมิภาครวมตัวกันตามโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม รุ่นที่ 1 เป็นการดำเนินโครงการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ได้จัดหลักสูตรเรียนรู้เพื่อนบ้านและสร้างชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนบนฐานความหลากหลายทางภาษา เชื้อชาติและวัฒนธรรม เพื่อก้าวข้ามอคติทางประวัติศาสตร์ ความเกลียดชัง และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยเดินทางไปศึกษาดูงานประเทศกัมพูชาและพม่า โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม พร้อมมุ่งหน้าสู่ประเทศกัมพูชา และพม่า ด้วยโปรแกรมการศึกษาดูงานที่แน่นเอียด 11 องค์กร ในกัมพูชา และ 6 องค์กร ในพม่าไปทุกซอกทุกมุม เพื่อรู้เขาให้ได้ลึกและมากที่สุด
นางสาวสุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงที่มาที่ไปว่า โครงการนี้เกิดขึ้นเพราะต้องการให้เด็กและเยาวชนมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ทางสังคม มีทักษะชีวิต มีภาวะผู้นำที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะจึงต้องพัฒนาแกนนำ การสร้างองค์ความรู้ และหลักสูตรการเรียนรู้ รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเยาวชน ทั้งนี้เพื่อนำสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชน และองค์กรภาคี ให้เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กลุ่มผู้นำเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชน กลุ่มเยาวชนที่ขับเคลื่อนสังคมด้านต่างๆ องค์กรนักศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพัฒนาเยาวชน อายุระหว่าง 19-27 ปี หลักสูตรเรียนรู้เพื่อนบ้านและสร้างชุมชนอาเซียนเป็น 1 ใน 6 หลักสูตรของโครงการ ที่มีความจำเป็นอย่างมาก โดยการไปดูงาน 2ประเทศนี้ เพราะต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้ไปเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกของอาเซียน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องการให้เห็นสถานการณ์สำคัญทางการเมือง บทบาทภาคประชาสังคม และบทบาทของเยาวชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการขับเคลื่อนคิดค้นการทำงานในบทบาทของตนเองต่อไป และต้องการการสร้างเครือข่าย ขยายกลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่เฉพาะคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย แต่ต้องขยายไปยังประเทศระหว่างประชาคมด้วยกัน
นางสาวสุภาวดี เผยต่อว่า ด้วยปัญหาความท้าทายที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากคนไทยไปลงทุนทางธุรกิจค่อนข้าง มาก และประเด็นสำคัญคือประชาชนกับประชาชนด้วยกันยังมีอคติในด้านลบอยู่ จึงเห็นว่าการสร้างความเป็นเพื่อน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน การเคารพในความหลากหลาย ทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ การเมือง ชาติพันธุ ฯลฯ นำมาสู่การประสานความร่วมมือในอนาคต และเห็นว่าเยาวชนประเทศเพื่อนบ้านเขามีความตั้งใจมีอุดมคติแรงกล้าในการทำงานเพื่อสังคม เป็นการนำสู่การพัฒนาสังคมและความเป็นประชาธิปไตย จากที่ไปศึกษาดูงาน ผลลัพธ์ที่ได้รับอันดับแรกสร้างแรง บันดาลใจให้กับน้องๆ ในการกลับมามีพลังขับเคลื่อนงานในชุมชนต่อไป และสิ่งที่เยาวชนอยากพัฒนาศักยภาพของตนเองมากคือ เรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะเพื่อนพม่า กัมพูชา ภาษาอังกฤษดีมาก ส่วนประเด็นเรื่องสันติภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องรู้และเข้าใจว่า วันนี้เพื่อนกัมพูชาคิดอย่างไรเรื่องเขาพระวิหาร มีอะไรเกิดขึ้นในพม่าในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
“วันนี้ จำเป็นอย่างมากที่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยควรไปเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะได้แรงบันดาลใจ รู้ว่าเขาคิดอะไร มีศักยภาพอย่างไร เขาก้าวหน้าในบางเรื่องกว่าเราอย่างไร อย่าคิดว่าเราใหญ่ เราดีกว่าเขา เราเจริญกว่าเขา ดังนั้น เราจึงต้องคิดค้นในเชิงของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันว่าจะใช้และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างไร มีเพื่อนพม่าฝากมาถามเหมือนกันว่าการที่นักลงทุนไทยไปลงทุนในพม่าจำนวนมาก นักลงทุนได้ปฏิบัติบนพื้นฐานสำคัญ 2 ข้อของพม่าหรือไม่ 1.ไม่ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ2.เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ไปขับไล่ชุมชนดั้งเดิม ส่วนประเด็นเรื่องสันติภาพ กรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เราต้องก้าวข้าม ก้าวผ่าน ประวัติศาสตร์ที่ขมขื่น และนำมาเป็นบทเรียนได้ ขอย้ำว่าการไปเรียนรู้ เห็นจริง สัมผัสของจริง ว่าขณะนี้เหตุการณ์ของเขาเป็นอย่างไร คิดอะไร จะก้าวไปทางไหน สำคัญมาก” นางสาวสุภาวดี กล่าว
นายศุภไชย ไตรไทยธีระ อดีตประธานสภาเด็กและเยาวชน จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของประเทศกัมพูชา ได้เห็นความรัก ศรัทธาของคนกัมพูชาต่อศาสนาและความเชื่อ ซึ่งตนชื่นชมการทำงานการเคลื่อนไหวของสภาเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็งในการต่อสู่ต่อเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เลวร้ายมาได้อย่างน่าชื่นชม จึงเป็นการให้กำลังใจกันมากกว่า กรณีปัญหาชายแดน การแย่งชิงพื้นที่ ประเด็นเรื่องประวัติ ศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมา เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่มีมีอคติในเรื่องนี้ เพราะเด็กและเยาวชนไม่ได้เอาดินแดน ขอบเขตของพื้นที่มาเป็นเส้นแบ่งความสัมพันธ์ของความเป็นเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจะเป็นห่วงและให้ความสำคัญมากกว่า คือ ภาษา อังกฤษ เพราะเห็นชัดมากว่าเพื่อนกัมพูชาพูดภาษาอังกฤษและสื่อสารได้ดีมาก ดังนั้น ก่อนเปิดประตูบ้านของเราทุกคนในบ้านต้องสื่อสารได้ก่อน เพราะถ้ายังสื่อสารกันไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องยากที่จะไปเข้าใจประเด็นที่ลึกซึ้งในเรื่องอื่นๆ การจะไปทำความเข้าใจวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเป็นประวัติศาสตร์ และมองภาพของความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้เลย ถ้าพูดกันไม่รู้เรื่อง
ด้านนางสาวสุกัญญา กิ่งชา ครูสอนภาษาอังกฤษ ศูนย์การเรียนชุมชน กศน. เยาวชนจาก จ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า เป็นคนที่ไม่ได้ให้ความสนใจทางการเมืองมากนัก แต่เมื่อได้มาเรียนรู้การทำงานของกลุ่มเยาวชนของพรรค Youth Wing of NLD party (NLD) และองค์กรที่ทำงานด้านอาสาสมัครเป็นกลุ่มที่ทำงานเคลื่อนไหวทางสังคม วิธีการทำงานของเขากระทบใจ เพราะสิ่งที่ทำเพื่อต้องการส่งสารบอกเยาวชน และคนอื่นๆ ในสังคมที่อยากได้ประชาธิปไตย จากการที่เขาถูกกดขี่ข่มเหง มาเป็นเวลานาน สายตา แววตาที่ได้เล่าเรื่องราวที่ผ่านมาเห็นถึงความมุ่งมั่น เปิดใจทำให้เราอยากค้นหาและพร้อมเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานเรียนรู้ลึกถึงประวัติศาสตร์ จากที่ไม่สนใจระบบการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิดและบอกตัวเองว่าต้องรู้และสนใจการเมืองให้มากขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้สะท้อนและกระตุกความคิดมาก เพื่อนพม่าถามว่าประเทศของคุณเรียนภาษาพม่า เหมือนที่ประเทศพม่าเรียนภาษไทยหรือไม่ คำถามง่ายๆ แต่ตอบยากเหลือเกิน ระยะเวลาภายใน 2-3 ปี จะเข้าสู่ AEC จะทันใหม่ถ้าอยากจะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาของประเทศไทย เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ เพราะเราถูกสอนให้เรียนเพื่อสอบให้ผ่าน เรียนให้ได้ใบประกาศ แต่ใช้อะไรไม่ได้ การคาดหวังให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารเมื่อเปิดอาเซียน แต่เรายังอายไม่มีทักษะการพูด กล้าพูด ผิดกับประชาชนของพม่าเก่งภาษามากกว่าเราสื่อสารได้ ดังนั้น สิ่งแรกต้องการให้เน้นเรื่องภาษา ก่อนจะเปิดอาเซียน
ยุค ชาง ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลกัมพูชา The Documentation Center of Cambodia (DC -Cam) เป็นศูนย์เอกสารของกัมพูชา โดยเก็บรวบรวมเอกสารที่ค้างไว้ตั้งแต่สมัยเขมรแดง นำกลับมาเรียบเรียงเป็นตำราประวัติศาสตร์เขมรแดง โดยส่วนหนึ่งทำเป็นหนังสือ คู่มือ หลักสูตรเข้าโรงเรียน มีอบรมครูและนักเรียนให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เขมรแดงอย่างถูกต้อง กว่า 45 ปี ที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนมา โดยทำงานร่วมกับเยาวชนไทยและมาเลเซียเป็นส่วนมาก พบเห็นปัญหาเหมือนกันว่า เยาวชนขาดประสบการณ์ชีวิต ควรกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้เด็กเห็นความสำคัญ ไม่อยากเห็นว่าคนที่ทำงานสังคมนั้น จำเป็นต้องถูกสังคมกระทำ แต่เป็นหน้าที่ทุกคนของคนในชาติ ซึ่งกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านนี้ต้องมีความชัดเจนในกลุ่มเป้าหมายที่จะทำ และมีการสื่อสารโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นได้
ยุค ชาง กล่าวว่า เราทำงานเพื่อวันพรุ่งนี้ โดยการทำงานระหว่างไทยและกัมพูชามียุทธศาสตร์การทำงานที่ต่างกัน ประเทศไทยมีปัญหาซับซ้อนทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งกัมพูชาเองก็มีปัญหาร่องรอยจากสงครามทั้งการแย่งชิงพื้นที่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ดังนั้น จะทำอย่างไรให้อนาคตดีขึ้นได้ จึงเน้นที่พัฒนาการทำงานกลุ่มเล็กๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะการทำงานกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นเยาวชน ซึ่งเยาวชนเป็นกลุ่มคนที่ถูกคาดหวังและมีแรงกดดัน โดยผู้ใหญ่หรือองค์กรที่ทำงานกับเด็กและเยาวชน จำเป็นต้องสนับสนุน บทบาทของเยาวชนในการทำงาน คือให้เสรีภาพในการเรียนรู้ที่จะกระทำการผิดพลาดได้ เพราะจะถือเป็นบทเรียนสำคัญของเยาวชน ให้เยาวชนและสมาชิกในองค์กร ต้องแสดงพลังการมีส่วนร่วมในสาธารณะชน
การให้โอกาสผู้นำเล็กๆ ที่จะเติบโตเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติได้ ผู้ใหญ่ที่นำอยู่ขณะนี้ ต้องให้โอกาสและเปิดพื้นที่ให้การสนับสนุนกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะเด็กและเยาวชนเหล่านี้ คือกุญแจสำคัญที่บอกว่าเราพร้อมหรือไม่ที่จะเปิดประตูเออีซี