ศศินทร์ เชื่อ AEC ยุคขุดทองผู้ประกอบการอาเซียน
ศศินทร์เผยตลาดการค้าโลกเปิดกว้าง มั่นใจ AEC กระตุ้นธุรกิจตื่นตัว คนชั้นกลางผุดทั่วโลก แหล่งกำลังซื้อสูง แนะผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin) เปิดเผยว่า การลงทุนค้าขายกับชาติต่างๆ ในอาเซียน ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคของแต่ละชาติ เพราะในอนาคตนั้นไม่ได้มีแค่ 10 ประเทศ แต่จะเกิดปรากฏการณ์อาเซียนบวก 3 ที่ในตลาดนั้นจะมีจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเข้ามาอยู่บนเวทีการแข่งขัน
ทั้งนี้ คาดว่าไม่เกินปี 2020 จะกลายเป็นอาเซียนบวก 6 นอกจาก 3 ประเทศดังกล่าวแล้ว จะมีอินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากอาเซียนมีประชากรกว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% ของประชากรโลก จึงทำให้สินค้าและบริการต่างๆ ทั่วโลกมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดในภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตาม หากอาเซียนรวมกับชาติอื่นๆ อีก 6 ประเทศในอนาคตจะทำให้มีอำนาจการต่อรองกับชาติตะวันตกมากขึ้น เพราะจะเกิดเครือข่ายการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง แม้ว่าจะเกิดปัญหากับชาติอื่นๆ ทั้งในยุโรป และอเมริกาเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออาเซียนมากนัก เนื่องจากการรวมตัวจะทำให้ตลาดภูมิภาคนี้ใหญ่ขึ้น และจะเกิดการค้าขายกันในกลุ่ม AEC ที่ประชากรมีบุคลิกและค่านิยมที่ใกล้เคียงกัน จึงเป็นโอกาสของการขยายธุรกิจในภูมิภาค ทั้งนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นในทุกประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของสินค้าและบริการจากทั่วโลก ดังนั้น ภาคธุรกิจจะต้องมีความตื่นตัวรอบด้านเพื่อรับมือกับการแข่งขันของตลาดในอนาคต โดยเริ่มจากการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์เพื่อง่ายต่อการเปิดตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ เมื่อการลงทุนด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นยุคทองของการค้า นอกจากผู้บริโภคในประเทศไทยที่ครองอันดับ 1 ในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันเพราะมีสินค้าและบริการหลากหลาย รวมทั้งค่าครองชีพที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน จึงทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักการตลาดและผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาผู้บริโภคชาติอื่นๆ ในอาเซียนทั้ง 9 ประเทศโดย