เปิดหลักสูตรปริญญาเอก ′มหาจุฬา′รับ′เออีซี′


เปิดหลักสูตร ป.เอก
 

พระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในการขัดเกลา หล่อหลอมสภาพจิตใจ อุปนิสัย วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ของชาวอาเซียนมาอย่างยาวนานกว่าสองพันปี นับตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นต้นมา

ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของชาวอาเซียนที่จะนำเอาต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมาใช้เป็นรากฐานในการสร้างความเป็นประชาคมอาเซียน ตามกรอบความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมให้พัฒนายิ่งขึ้นไป

 

ในการนี้ "พระสุธีธรรมานุวัตร" (เทียบ สิริญาโณ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในแง่การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนานั้น ได้เตรียมความพร้อมไว้ 4 ด้าน ดังนี้

1.ด้านหลักสูตร มีการออกแบบหลักสูตรให้ผู้เรียนเข้าถึงความเป็นพุทธะ แบบบริสุทธิ์ในคัมภีร์และความเป็นพุทธะในเชิงวัฒน ธรรมของชาวอาเซียน สร้างคุณสมบัติของบัณฑิตให้เกื้อกูลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักพระพุทธศาสนา ด้วยการจัดการศึกษาในเชิงบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ด้วยการนำวิชาเหล่านี้เข้ามาไว้ในหลักสูตร อาทิ วิชาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ วิชาพระพุทธศาสนากับวิชาชีพ วิชาจิตปรึก ษาและการเยียวยาเชิงพุทธ และวิชาพระ พุทธศาสนากับสันติ ภาพ เป็นต้น

พระสุธีธรรมานุวัตรกล่าวว่า ในที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้เปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน เป็นวิชาบังคับ ระดับปริญญาเอก ในปีการศึกษา 2556 นี้


โดยเนื้อหาวิชามีการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับเสาหลักของอาเซียน 3 อย่าง คือ

1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และคาดว่าจะมีการยกระดับเป็นหลักสูตรสาขาวิชาอาเซียนศึกษา ในอีกไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในอาเซียนต่อไป

2.ด้านการวิจัย ส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนาระหว่างอาเซียนด้วยกันแบบข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural) เช่น เรื่องคัมภีร์ ความเชื่อท้องถิ่น และศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่อยู่ในวัฒนธรรมประเพณีของชาวอาเซียนในแต่ละประเทศ นำไปสู่การเข้าใจในวิถีชีวิตในทุกชาติพันธุ์อย่างแท้จริง


1.พระสุธีธรรมานุวัตร

2.ประชุม มจร.

3.อบรมพระ

4.อบรมพระ
 


ถือได้ว่าเป็นการรู้เขารู้เรา เพื่อก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกันได้อีกทางหนึ่ง

3.ด้านบุคลากร ส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางพระพุทธศาสนาทั้งสายวิชาการและวิชาชีพ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาระหว่างกัน เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของตนให้เป็นผู้มีปัญญา รอบรู้ในทุกด้าน

4.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ส่งเสริมให้มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารด้านพระพุทธศาสนาระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน มีแหล่งข้อมูลทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาอาเซียนทุกภาษา มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อสารมวลชน สื่อทางอิน เตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ตอบสนองความต้องการของนิสิตไทยและนิสิตจากนานาชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้ได้พัฒนาความรู้ เพิ่มพูนปัญญาในการศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน

5.ด้านนิสิต ได้ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างสถาบันที่จัดการเรียนการสอนทางพระพุทธศาสนา และส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกันระหว่างนิสิตภายในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น กิจกรรมการปฏิบัติธรรมร่วมกัน กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสังคม กิจกรรมศึกษาดูงานทางพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเน้นไปที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น

พระสุธีธรรมานุวัตรกล่าวสรุปทิ้งท้าย ว่า เพื่อให้สอดรับกับทิศทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีกสองปีข้างหน้า ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ปีการศึกษา 2556 ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ

เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ถึงแก่นแท้ทางพระพุทธศาสนาที่อยู่ในพระไตรปิฎก และพระพุทธศาสนาในเชิงประเพณีวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน ให้สามารถนำไปบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาจิตใจสู่การเป็นผู้มีปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาได้ในทุกสถานการณ์ มีการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขร่วมกัน ก่อให้เกิดสันติภาพในสังคมและประเทศชาติโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมอาเซียนต่อไป


สอบถามรายละเอียดได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ โทร.0-2222-0680

 


ที่มา : มติชนออนไลน์


 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด

270

views
Credit : aseanthai.net


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน