ไทย รั้ง 3 อันดับแรกในอาเซียน “กังวลความต้องการใช้พลังงานในอนาคต”

ไทย รั้ง 3 อันดับแรกในอาเซียน “กังวลความต้องการใช้พลังงานในอนาคต”
       เชลล์ เผยผลสำรวจพลังงานในเอเชียพบว่า ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เป็น 3 ประเทศอันดับแรกของ 9 ประเทศในอาเซียนอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง “ปัญหาความต้องการใช้พลังงานในอนาคต” 
       เป็นผลสำรวจของหน่วยงานด้านพลังงานแห่งอนาคตของเชลล์ โดยการสอบถามจากประชากรจำนวน 8,446 คน จาก 31 เมือง ใน 9 ภูมิภาค พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ตอบ กังวลถึงความต้องการพลังงานระยะยาวในอนาคต โดยให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องระบบการศึกษาของรัฐ และค่าครองชีพ ซึ่งยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน และขาดการขับเคลื่อนอย่างจริงจังโดยภาครัฐ
       ผลสำรวจดังกล่าวชี้ด้วยว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตที่ทุกประเทศต้องการมากที่สุด เช่น สิงคโปร์ (ร้อยละ 86) ไทย (ร้อยละ 83) และอินเดีย (ร้อยละ 77) ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติก็เป็นที่ต้องการมากที่สุดในบรูไน (ร้อยละ 87) รองลงมา สิงคโปร์ (ร้อยละ 52) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 43) และอินเดีย (ร้อยละ 43)
 
ไทย รั้ง 3 อันดับแรกในอาเซียน “กังวลความต้องการใช้พลังงานในอนาคต”
       ขณะที่รายงานของธนาคาร เอดีบี มองถึงความท้าทายของกลไกตลาดพลังงานในเอเชียเกิดจากการเติบโตเร็ว ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น พร้อมได้คาดการณ์ไปอีก 20 กว่าปีข้างหน้า ว่าจะต้องวางแผนในระยะยาว หากไม่ต้องการให้เอเชียขาดแคลนพลังงาน
       โดยเฉพาะประเทศไทย และ เกาหลีใต้ ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความกังวลมากที่สุดว่าจะขาดแคลนพลังงาน ซึ่งในข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้น เพราะพลังงานน้ำมัน และก๊าซของไทย อีกไม่เกิน 10-15 ปี ก็จะหมดไป เมื่อถึงเวลานั้นจะหาพลังงานจากแหล่งใดมาชดเชยให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น
       ปัจจุบัน ทวีปเอเชีย มีการบริโภคพลังงานถึง 51-56% ของการบริโภคพลังงานทั้งโลกจากปัจจุบันบริโภคพลังงานเพียง 1 ใน 3 ดังนั้น การลงทุนในเรื่องของพลังงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  และการลงทุนดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงการกระจายความเจริญไปทุกภูมิภาคและเปิดโอกาสให้คนที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานได้ 
       เอดีบีเสนอด้วยว่า สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือ ทำให้ราคาของพลังงานนั้นสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ใช้ได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลายประเทศที่มีนโยบายสนับสนุนด้านราคาที่มีต้นทุนสูงมาก เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้ต้นทุนการแทรกแซงราคา มากกว่า 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และมากกว่า 4% ในบังกลาเทศ และปากีสถาน 
       ในประเด็นการหาพลังงานทดแทนน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ คำตอบที่ให้เป็นทางเลือกเหมาะสมในขณะนี้ คือ พลังงานลม และแสงอาทิตย์ ที่มีราคาถูกลงสำหรับการลงทุน เพียงแต่ยังขาดแรงสนับสนุน แรงจูงใจในเชิงนโยบายบายจากภาครัฐ ส่วนกรณีพลังงานจากน้ำในอนาคตคงเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก เนื่องจากกระแสต่อต้านด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
       ดังนั้น พลังงานของภูมิภาคเอเชียในอนาคตข้างหน้า จะไม่ถึง "จุดวิกฤต" หากประเทศต่างๆ ในเอเชียร่วมมือกันผลักดันโดยสร้างเครือข่ายร่วมกัน เช่น มีระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าข้ามประเทศ มีการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนพลังงานจากน้ำมันดิบ ทั้งนี้ ตัวอย่างของการใช้พลังงานในสหภาพยุโรป ที่ผ่านมา น่าจะเป็นต้นแบบที่ดี เพราะมีทั้งความสำเร็จ และล้มเหลว 
       
 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ manager.co.th ดูทั้งหมด

222

views
Credit : manager.co.th


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน