ไทยถดถอย จาการประเมินก่อนเปิดตลาดเข้า AEC อาเซียน


นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยบทวิเคราะห์ “ประเมิน 3 ปี การค้า และการลงทุน ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) “ว่า จากการประเมินสถานะศักยภาพทางการค้าของประเทศในอาเซียน ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การเปิดเสรีการค้าสินค้าในปี 2553 เทียบกับสภาพการค้าของไทยในอาเซียนในปี 2555 พบว่าไทยอยู่ในสถานะ “ตกต่ำ” หรือ DOG คือ มีอัตราขยายตัวต่ำและมีส่วนแบ่งตลาดต่ำ โดยสถานะนี้ลดลงจากเมื่อปี 2554 ที่ไทยอยู่ในกลุ่ม “ไร้ทิศทาง” หรือ Question Mark คือมีอัตราขยายตัวสูง แต่ส่วนแบ่งตลาดต่ำ ซึ่งเป็นสถานะเดียวกับที่ไทยคงอยู่เมื่อปี 2553 หรือเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาทั้งนี้ สถานะทางการค้าของไทยลดต่ำลงจากในช่วง1-2 ปีแรกที่เปิดเออีซี ซึ่งบทวิเคราะห์นี้ประเมินจากการส่งออกไปอาเซียนในรายประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปอาเซียนเมื่อปี 2555 อยู่ที่ 45,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.9% ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำกว่าปี 2554 ที่มูลค่า 43,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราขยายตัวสูงถึง 20.7% ด้านส่วนแบ่งตลาดแม้ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 2 และยังมีอัตราขยายตัวอยู่ แต่ก็เพียงเล็กน้อยโดยปี 2555 อยู่ที่ 18.4% เพิ่มจากปีก่อนที่ 18% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งเป็นของสิงคโปร์ 43.4% แต่ด้านอัตราขยายตัวส่วนแบ่งตลาดพบว่า ฟิลิปปินส์ มีอัตราสูงถึง 96.9% เปรียบเทียบปี 54/55 และมีอัตราขยายตัวมูลค่าการส่งออกที่สูงถึง 102.9% ของมูลค่าการส่งออก 9,501 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชี้ให้เห็นว่าหลังเป็นเออีซีได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการค้ามากพอควรหลัง 3 ปีเออีซีสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นดาวร่วง คือ ข้าว ส่วนแบ่งตลาดไทยลดลง 10.41% ขณะที่เวียดนามเพิ่มขึ้น 6.68% มันสำปะหลัง (มันเส้น/อัดเม็ด) ไทยลดลง 0.04% ขณะที่กัมพูชา เพิ่มขึ้น 20.10% ยางพารา ไทยลดลง 2.91% แต่เวียดนามเพิ่มขึ้น 10.73% อาหารทะเลแปรรูป ไทยลดลง 0.19% อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 4.89% สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไทยลดลง 2.27% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 2.38%ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มดาวเด่น ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักและผลไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เหล็ก และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เครื่องดื่มยาสูบ ส่วนการประเมิน 3 ปีการลงทุนในอาเซียน พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ เอฟดีไอ นั้น สิงคโปร์ ยังคงเป็นอันดับ1 ด้วยมูลค่าการลงทุน 167,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย 51,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมาเลเซียมีเม็ดเงินลงทุน 31,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนไทยมีเม็ดเงินทุนเข้ามาเป็นอันดับ4 มูลค่า 27,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐแต่แนวโน้มการลงทุนนั้นกลุ่มประเทศ CLMV นั้นเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม และพม่า แต่ไม่อยากให้มองว่าไทยต้องไปแข่งขันเพื่อให้เป็นที่ 1 ในอาเซียนเท่านั้น แต่ควรมองในเรื่องของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และในระยะยาวการเปิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของ 10 ประเทศสมาชิก นายอัทธ์ กล่าวถึง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่า 5% ขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียน แข็งค่าขึ้นประมาณ 1% ทำให้ความสามารถแข่งขันการส่งออกลดลง เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 % เปอร์เซ็นต์ กระทบต่อการส่งออกจะลดลง 2.4 % เชื่อว่าทำให้การส่งออกโดยรวมของไทยในปีนี้ขยายตัวที่ 4-8% 

แหล่งข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ  
 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aectourismthai ดูทั้งหมด

629

views
Credit : aectourismthai


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน