ธงประจำชาติประเทศอาเซียน 10ประเทศ พร้อมประวัติและความหมาย
1.ธงชาติบรูไน
"บรูไนดารุสซาลาม"(แปลว่า นครแห่งสันติสุข)
ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
- พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
- สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน
สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
คาดสีขาว-ดำ ลงบนธงในปี พ.ศ. 2449 เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากธงอื่นที่ใช้สีเหลืองชัดเจนขึ้น และได้มีการแก้ไขแบบธงอีกครั้งโดยการเพิ่มรูปตราแผ่นดินลงบนกลางธงในปี พ.ศ. 2509 ดังลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบันนี้
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีเหลืองจะใช้เป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นสีของธงประจำพระองค์ยังดี เปอร์ตวน อากง แห่งสมาพันธ์มาเลเซีย และ
ธงมหาราชของราชอาณาจักรไทย รวมถึงสีธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียอีกด้วย
ธงของสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม ธงกองทัพ
2.ธงชาติกัมพูชา
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
- พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
- พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น
พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
- สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
นับตั้งแต่สมัยที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นต้นมา ธงชาติของกัมพูชาเกือบทุกแบบจะมีรูปปราสาทหินนครวัดอยู่ตรงกลางเสมอ
ธงชาติกัมพูชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เนื่องจากนายพลลอนนอลได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลสังคมราษฎร์นิยมของสมเด็จกรมพระนโรดมสีหนุ และได้ใช้ธงชาติแบบใหม่แทน
ธงชาติกัมพูชาในระยะต่อมาเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2536 องค์การสหประชาชาติซึ่งเข้ามาควบคุมการเปลี่ยนผ่านอำนาจในกัมพูชา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อลงประชามติกำหนดทิศทางของประเทศ ผลปรากฏว่า พรรคฟุนซินเปคซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนิยมเจ้าชนะการเลือกตั้ง ประเทศกัมพูชาจึงกลับมาใช้ชื่อว่าราชอาณาจักรกัมพูชาอีกครั้ง และได้กำหนดให้ใช้ธงชาติช่วง พ.ศ. 2491 - 2512 เป็นธงชาติของกัมพูชาอีกครั้ง ตราบจนทุกวันนี้
ธงมหาราช
ประเทศกัมพูชาได้มีธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ธงนี้เรียกชื่อว่า "ธงมหาราช" เช่นเดียวกับในภาษาไทย ในสมัยราชอาณาจักรกัมพูชายุค พ.ศ. 2491 -2512 ธงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นนอกสีแดง พื้นในสีน้ำเงิน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชาอย่างย่อ ในแบบลายเส้นสีทอง[2] ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชอาณาจักรอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนธงใหม่เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชา ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้
3.ธงชาติอินโดนีเซีย
รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
- สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพของมนุษย์
- สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ หรือจิตวิญญานของมนุษย์
ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น
สีแดงและสีขาวของธงชาติอินโดนีเซียมีที่มาจากสีธงของอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งเป็นอาณาจักรชวาโบราณในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการชาตินิยมในอินโดนีเซียได้ฟื้นฟูธงนี้ขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการกดขี่ของเนเธอร์แลนด์ในอาณานิคมอินเดียตะวันออกของดัตช์ โดย
ธงสีแดง-ขาวได้โบกสะบัดครั้งแรกบนเกาชวาในปี ค.ศ. 1928 ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ในระยะนั้นทำให้ธงนี้มีสถานะเป็นธงต้องห้าม
ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ธงสีแดง-ขาว จึงได้ถูกชักขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซียครั้งแรก และมีฐานะเป็นธงชาติอย่างแท้จริงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ยังมีประวัติของธงชาติอินโดนีเซียอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อธงชาติเนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สายนี้กล่าวว่า ในสมัยภายใต้
การปกครองของเนเธอร์แลนด์นั้นทุกพื้นที่การปกครองของอินเดียตะวันออกของดัตช์จะต้องชักธงสามสีของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องหมายสำคัญ ธงใดๆ ก็ตามที่หมายถึงอินโดนีเซียจะเป็นธงต้องห้ามทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความต้องการขับไล่ชาวดัตช์ นักชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินโดนีเซียกลุ่มต่างๆ จึงทำลายธงชาติเนเธอร์แลนด์โดยการฉีกเอาส่วนล่างสุดที่เป็นสีน้ำเงินออก คงไว้แต่เฉพาะสีแดงกับสีขาวเท่านั้น
เหตุผลสำคัญคือสีน้ำเงินของธงชาติเนเธอร์แลนด์ในความคิดของพวกชาตินิยมคือเครื่องหมายของ "พวกอภิชนเลือดน้ำเงิน" ผู้กดขี่คนพื้นเมือง ในทางกลับกัน
สีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์เลือดในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ส่วนสีขาวนั้นอาจมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ของชาวอินโดนีเซีย
4.ธงชาติลาว
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
- สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
- สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
- พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว)หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง
ธงชาติลาวนี้เป็นหนึ่งในธงของประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีอยู่น้อยมาก
ในอดีตช่วงปี พ.ศ.2488นั้น ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2แล้ว ขบวนการลาวอิสระได้ประกาศให้ประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสและประกาศจัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระ โดยใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว แต่ 6เดือนให้หลังต่อมาฝรั่งเศสก็กลับเข้ามาปกครองลาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศสและล้มรัฐบาลลาวอิสระลง (ได้ให้เอกราชแก่ลาวภายหลังในปี พ.ศ.2498 ลาวจึงปกครองตนเองต้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ธงนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการปะเทดลาวแทน ซึ่งขบวนการนี้จัดตั้งโดยผู้นำขบวนการลาวอิสระส่วนหนึ่ง ที่นิยมแนวคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
เมื่อขบวนการปะเทศลาวเคลื่อนไหวปลดปล่อยลาว ล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ และจัดตั้งรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศสำเร็จ ธงนี้ก็ได้รับการรับรองให้เป็นธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518
5.ธงชาติมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มี
ความหมาย ดังนี้
แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย
ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉกคือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซียแบบแรกสุดคือธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สีขนาดเท่ากันเรียงจากบนลงล่าง คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และดำ ตรงกลางผืนธงมีตราเสือเผ่นบนพื้นวงกลมสีขาว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2439 โดยธงนี้จะต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ.2493 ได้มีการเปลี่ยนธงชาติสหพันธ์รัฐมาเลเซียมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบ ประกอบด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์ 11แฉกในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน เพื่อแทนรัฐทั้ง 11 รัฐ คือ ปะลิส ไทรบุรี เประ กลันตัน ตรังกานู ปะหัง เนกรีเซมบิลัน สลังงอร์ ปีนัง ยะโฮร์ และมะละกา ธงนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่หน้าพระราชวังสลังงอร์ (Istana Selangor) และได้ชักขึ้นเป็นธงรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้าจตุรัสเอกราช (Merdeka Square) ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500
ในปี พ.ศ.2506ได้มีการปรับแก้แบบธงชาติให้เป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มแถบแดงสลับขาวเป็น 14 แถบ และรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เป็น 14 แฉกเพื่อแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐ เนื่องจากมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบาห์ รัฐซาราวัก และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ด้วย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ.2508 ก็ตาม แต่ริ้วธงและรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ยังคงมีจำนวนอยู่เท่าเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนความหมายของรัฐสุดท้ายจากรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
6.ธงชาติเมียนม่าร์
ธงชาติเมียนม่าร์ ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว
และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของเมียนม่าร์
สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21ตุลาคม พ.ศ.2553ในเวลา 15.00น. ที่กรุงเนปีดอ และในเวลา 15.33น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น)อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนม่าร์ ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 7พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ธงชาติเมียนม่าร์ พ.ศ.2491-2517
หลังจากเมียนม่าร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพเมียนม่าร์ ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วย
รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพเมียนม่าร์ ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2490และชักขึ้นเหนือแผ่นดินเมียนม่าร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4มกราคม พ.ศ.2491เวลา 4.25น
ธงชาติเมียนม่าร์ พ.ศ.2517-2553
ต่อมาเมื่อนายพลเน วินได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลแห่งสหภาพเมียน์ม่าร์ และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนม่าร์แทน จึงได้มีการเปลี่ยนธงชาติเมื่อวันที่ 3มกราคม พ.ศ.2517ลักษณะเป็นเป็นธงสี่เหลื่ยมผืนผ้าขนาดสัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 5:9,2:3 หรือ 6:11 พื้นสีแดง ที่มุมบนด้านต้นธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในมีรูปช่อรวงข้าวอยู่หน้าฟันเฟือง ล้อมรอบด้วยดาวห้าแฉก 14 ดวงเป็นวงกลม รูปเหล่านี้เป็นสีขาว
สำหรับความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติมีดังนี้ รูปฟันเฟืองและรวงข้าว เป็นสัญลักษณ์ในเชิงสังคมนิยม หมายถึง ชาวนาและกรรมกร ดาวห้าแฉก 14 ดวง หมายถึง เขตการปกครองทั้ง 14 เขตของพม่า (7 รัฐ 7 เขต) สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความอุดมสมบูรณ์
ธงชาติเมียนม่าร์สมัยนี้หลายคนอาจสับสนระหว่างธงชาติไต้หวันกับธงชาติเมียนม่าร์สมัยนี้เมื่อใช้ครั้งแรก เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกันมาก
การเสนอธงชาติเมียนม้าร์แบบใหม่
ระหว่างการประชุมสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญของเมียนม่าร์ ได้มีการเสนอแบบของธงชาติใหม่เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 การเปลี่ยนธงชาติใหม่ครั้งนี้ ได้มีการเสนอเรื่องโดยคณะกรรมาธิการชุดหนึ่ง ภายใต้การดำเนินการของสภาแห่งชาติเมียนม่าร์ อย่างไรก็ตาม สื่อของทางการเมียนม่าร์ได้กล่าวในภายหลังว่า บรรดา
ผู้แทนในสภาแห่งชาติเมียนม่าร์ได้เลิกล้มความคิดดังกล่าวแล้ว การเปลี่ยนธงชาติจึงยังไม่เกิดขึ้น
ต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ.2550 ได้มีการเสนอแบบธงชาติใหม่อีกครั้ง โดยเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง-เขียว-แดง กลางมีรูปดาวสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งได้กำหนดรวมอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสหภาพเมียนม่าร์ด้วย เมื่อมีการรับรองร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จึงเท่ากับว่าเป็นการยอมรับธงชาติเมียนม่าร์ใหม่ตามประชามตินี้ด้วย ซึ่งทั้งรัฐธรรมนูญและธงชาติใหม่ เริ่มบังคับใช้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่ภายในปี พ.ศ. 2553
7.ธงชาติฟิลิปปินส์
ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่ง
ตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง
ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า
รูปดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ.1896
ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
อย่างไรก็ตาม ในคำประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1898 ได้นิยามความหมายของธงชาติต่างไปจากปัจจุบัน โดยระบุว่าสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนสมาคมคาติปูนัน (Katipunan) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่ต่อต้านการปกครองของจักรวรรดินิยมสเปน สำหรับสีแดงและสีน้ำเงินกำหนดขึ้นจากสีของธงชาติสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงออกถึงความซาบซึ้งที่สหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองชาวฟิลิปปินส์ในการต่อต้านสเปนในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ ส่วนดาวสามดวงในธง ในคำประกาศเอกราชได้กล่าวว่าดาวดวงหนึ่งในสามดวงนั้นหมายถึงเกาะปานาย ไม่ใช่หมู่เกาะวิสายัน
8.ธงชาติสิงคโปร์
ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูป
ดังกล่าวมีดาว 5 แฉก จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล
รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น
ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2508
ธงของประธานาธิบดีสิงคโปร์
ธงซึ่งใช้หมายถึงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นธงที่ดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติ พื้นเป็นธงสีแดง มีรูปหมู่ดาวและเดือนเสี้ยวขนาดใหญ่
อยู่กลางธง ตามเอกสารของทำเนียบประธานาธิบดีระบุว่าสีพื้นและรูปสัญลักษณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามลักษณะที่ปรากฏในธงชาติ ธงนี้ชักขึ้นประจำทำเนียบประธานาธิบดีระหว่างเวลา 8.00 น.-18.00น.หรือจนกว่าประธานาธิบดีจะออกจากทำเนียบเพื่อไปยังที่พักส่วนตัว
9 ธงชาติเวียดนาม
ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม
ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ.2519ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า
สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ประเทศเวียดนามทั้งสองประเทศต่างมีธงชาติของตนเอง กล่าวคือ เวียดนามเหนือใช้ธงแดงดาวทองเป็น
ธงชาติ ส่วนเวียดนามใต้คงใช้ธงเหลืองสามริ้วแดงเป็นธงชาติของตนเองต่อไปจนสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
สมัยการรวมชาติเวียดนาม
หลังประเทศเวียดนามใต้ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "เวียดกง") ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 รัฐบาลชั่วคราวของเวียดนามใต้ได้ยกเลิกธงชาติแบบเดิม และหันมาใช้ธงของขบวนการเวียดกงเป็นธงชาติแทนอยู่ระยะหนึ่ง ธงนี้เป็นธง
สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง ครึ่งล่างสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน กลางธงเป็นรูปดาวทอง 5 แฉก และได้ใช้มาจนเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมชาติกันอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลเวียดนามจึงประการใช้ธงชาติของเวียดนามเหนือเป็นธงชาติเวียดนามตราบจนทุกวันนี้
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม(ประเทศเวียดนามเหนือ)
10.ธงชาติไทย
ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ชาติ
สีขาว หมายถึง ศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า
สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย(ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4)กลับด้าน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1กับฝ่ายสัมพันธมิตรและ
สีม่วงเพื่อเป็นตัวแทนของสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น
กำเนิดของธงสยาม
ราชอาณาจักรไทย ใช้ธงแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน จากจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2199-พ.ศ.2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน)
ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์
ธงชาติไทย
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธง
พื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง
ธงเรือหลวงในรัชสมัย ธงเรือหลวงในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ในพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดงมาเป็นธงช้างเผือกในวงจักรในคราวเดียว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับ
สหราชอาณาจักรใน พ.ศ.2398 พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้
ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับ
แยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ(ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน
"ธงช้างเผือก" "ธงเกตุ" สำหรับชักที่หัวเรือหลวง
ธงชาติสยามในรัชสมัย (ต่อมาใช้เป็นธงฉานของกองทัพเรือไทย)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ
"บรูไนดารุสซาลาม"(แปลว่า นครแห่งสันติสุข)
ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
- พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
- สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน
สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
ประเทศบรูไน เริ่มมีธงชาติของตนเองใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2502 ซึ่งขณะนั้นบรูไนยังเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ต่อมาภายหลังจึงได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 ภายใต้ชื่อประเทศ "บรูไนดารุสซาลาม"(แปลว่า นครแห่งสันติสุข)
เดิมรัฐสุลต่านบรูไนใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของรัฐมาโดยตลอดแม้อยู่ในช่วงของการเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร ต่อมาจึงได้มีการเพิ่มแถบสีคาดสีขาว-ดำ ลงบนธงในปี พ.ศ. 2449 เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากธงอื่นที่ใช้สีเหลืองชัดเจนขึ้น และได้มีการแก้ไขแบบธงอีกครั้งโดยการเพิ่มรูปตราแผ่นดินลงบนกลางธงในปี พ.ศ. 2509 ดังลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบันนี้
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีเหลืองจะใช้เป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นสีของธงประจำพระองค์ยังดี เปอร์ตวน อากง แห่งสมาพันธ์มาเลเซีย และ
ธงมหาราชของราชอาณาจักรไทย รวมถึงสีธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียอีกด้วย
ธงของสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม ธงกองทัพ
2.ธงชาติกัมพูชา
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
- พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
- พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น
พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
- สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
นับตั้งแต่สมัยที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นต้นมา ธงชาติของกัมพูชาเกือบทุกแบบจะมีรูปปราสาทหินนครวัดอยู่ตรงกลางเสมอ
ธงชาติกัมพูชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เนื่องจากนายพลลอนนอลได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลสังคมราษฎร์นิยมของสมเด็จกรมพระนโรดมสีหนุ และได้ใช้ธงชาติแบบใหม่แทน
ธงชาติกัมพูชาในระยะต่อมาเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2536 องค์การสหประชาชาติซึ่งเข้ามาควบคุมการเปลี่ยนผ่านอำนาจในกัมพูชา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อลงประชามติกำหนดทิศทางของประเทศ ผลปรากฏว่า พรรคฟุนซินเปคซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนิยมเจ้าชนะการเลือกตั้ง ประเทศกัมพูชาจึงกลับมาใช้ชื่อว่าราชอาณาจักรกัมพูชาอีกครั้ง และได้กำหนดให้ใช้ธงชาติช่วง พ.ศ. 2491 - 2512 เป็นธงชาติของกัมพูชาอีกครั้ง ตราบจนทุกวันนี้
ธงมหาราช
ประเทศกัมพูชาได้มีธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ธงนี้เรียกชื่อว่า "ธงมหาราช" เช่นเดียวกับในภาษาไทย ในสมัยราชอาณาจักรกัมพูชายุค พ.ศ. 2491 -2512 ธงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นนอกสีแดง พื้นในสีน้ำเงิน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชาอย่างย่อ ในแบบลายเส้นสีทอง[2] ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชอาณาจักรอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนธงใหม่เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชา ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้
3.ธงชาติอินโดนีเซีย
รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
- สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพของมนุษย์
- สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ หรือจิตวิญญานของมนุษย์
ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น
สีแดงและสีขาวของธงชาติอินโดนีเซียมีที่มาจากสีธงของอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งเป็นอาณาจักรชวาโบราณในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการชาตินิยมในอินโดนีเซียได้ฟื้นฟูธงนี้ขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการกดขี่ของเนเธอร์แลนด์ในอาณานิคมอินเดียตะวันออกของดัตช์ โดย
ธงสีแดง-ขาวได้โบกสะบัดครั้งแรกบนเกาชวาในปี ค.ศ. 1928 ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ในระยะนั้นทำให้ธงนี้มีสถานะเป็นธงต้องห้าม
ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ธงสีแดง-ขาว จึงได้ถูกชักขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซียครั้งแรก และมีฐานะเป็นธงชาติอย่างแท้จริงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ยังมีประวัติของธงชาติอินโดนีเซียอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อธงชาติเนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สายนี้กล่าวว่า ในสมัยภายใต้
การปกครองของเนเธอร์แลนด์นั้นทุกพื้นที่การปกครองของอินเดียตะวันออกของดัตช์จะต้องชักธงสามสีของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องหมายสำคัญ ธงใดๆ ก็ตามที่หมายถึงอินโดนีเซียจะเป็นธงต้องห้ามทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความต้องการขับไล่ชาวดัตช์ นักชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินโดนีเซียกลุ่มต่างๆ จึงทำลายธงชาติเนเธอร์แลนด์โดยการฉีกเอาส่วนล่างสุดที่เป็นสีน้ำเงินออก คงไว้แต่เฉพาะสีแดงกับสีขาวเท่านั้น
เหตุผลสำคัญคือสีน้ำเงินของธงชาติเนเธอร์แลนด์ในความคิดของพวกชาตินิยมคือเครื่องหมายของ "พวกอภิชนเลือดน้ำเงิน" ผู้กดขี่คนพื้นเมือง ในทางกลับกัน
สีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์เลือดในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ส่วนสีขาวนั้นอาจมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ของชาวอินโดนีเซีย
4.ธงชาติลาว
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
- สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
- สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
- พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว)หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง
ธงชาติลาวนี้เป็นหนึ่งในธงของประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีอยู่น้อยมาก
ในอดีตช่วงปี พ.ศ.2488นั้น ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2แล้ว ขบวนการลาวอิสระได้ประกาศให้ประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสและประกาศจัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระ โดยใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว แต่ 6เดือนให้หลังต่อมาฝรั่งเศสก็กลับเข้ามาปกครองลาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศสและล้มรัฐบาลลาวอิสระลง (ได้ให้เอกราชแก่ลาวภายหลังในปี พ.ศ.2498 ลาวจึงปกครองตนเองต้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ธงนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการปะเทดลาวแทน ซึ่งขบวนการนี้จัดตั้งโดยผู้นำขบวนการลาวอิสระส่วนหนึ่ง ที่นิยมแนวคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
เมื่อขบวนการปะเทศลาวเคลื่อนไหวปลดปล่อยลาว ล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ และจัดตั้งรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศสำเร็จ ธงนี้ก็ได้รับการรับรองให้เป็นธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518
5.ธงชาติมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มี
ความหมาย ดังนี้
แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย
ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉกคือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซียแบบแรกสุดคือธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สีขนาดเท่ากันเรียงจากบนลงล่าง คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และดำ ตรงกลางผืนธงมีตราเสือเผ่นบนพื้นวงกลมสีขาว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2439 โดยธงนี้จะต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ.2493 ได้มีการเปลี่ยนธงชาติสหพันธ์รัฐมาเลเซียมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบ ประกอบด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์ 11แฉกในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน เพื่อแทนรัฐทั้ง 11 รัฐ คือ ปะลิส ไทรบุรี เประ กลันตัน ตรังกานู ปะหัง เนกรีเซมบิลัน สลังงอร์ ปีนัง ยะโฮร์ และมะละกา ธงนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่หน้าพระราชวังสลังงอร์ (Istana Selangor) และได้ชักขึ้นเป็นธงรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้าจตุรัสเอกราช (Merdeka Square) ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500
ในปี พ.ศ.2506ได้มีการปรับแก้แบบธงชาติให้เป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มแถบแดงสลับขาวเป็น 14 แถบ และรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เป็น 14 แฉกเพื่อแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐ เนื่องจากมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบาห์ รัฐซาราวัก และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ด้วย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ.2508 ก็ตาม แต่ริ้วธงและรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ยังคงมีจำนวนอยู่เท่าเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนความหมายของรัฐสุดท้ายจากรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
6.ธงชาติเมียนม่าร์
ธงชาติเมียนม่าร์ ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว
และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของเมียนม่าร์
สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21ตุลาคม พ.ศ.2553ในเวลา 15.00น. ที่กรุงเนปีดอ และในเวลา 15.33น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น)อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนม่าร์ ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 7พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ธงชาติเมียนม่าร์ พ.ศ.2491-2517
หลังจากเมียนม่าร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพเมียนม่าร์ ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วย
รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพเมียนม่าร์ ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2490และชักขึ้นเหนือแผ่นดินเมียนม่าร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4มกราคม พ.ศ.2491เวลา 4.25น
ธงชาติเมียนม่าร์ พ.ศ.2517-2553
ต่อมาเมื่อนายพลเน วินได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลแห่งสหภาพเมียน์ม่าร์ และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนม่าร์แทน จึงได้มีการเปลี่ยนธงชาติเมื่อวันที่ 3มกราคม พ.ศ.2517ลักษณะเป็นเป็นธงสี่เหลื่ยมผืนผ้าขนาดสัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 5:9,2:3 หรือ 6:11 พื้นสีแดง ที่มุมบนด้านต้นธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในมีรูปช่อรวงข้าวอยู่หน้าฟันเฟือง ล้อมรอบด้วยดาวห้าแฉก 14 ดวงเป็นวงกลม รูปเหล่านี้เป็นสีขาว
สำหรับความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติมีดังนี้ รูปฟันเฟืองและรวงข้าว เป็นสัญลักษณ์ในเชิงสังคมนิยม หมายถึง ชาวนาและกรรมกร ดาวห้าแฉก 14 ดวง หมายถึง เขตการปกครองทั้ง 14 เขตของพม่า (7 รัฐ 7 เขต) สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความอุดมสมบูรณ์
ธงชาติเมียนม่าร์สมัยนี้หลายคนอาจสับสนระหว่างธงชาติไต้หวันกับธงชาติเมียนม่าร์สมัยนี้เมื่อใช้ครั้งแรก เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกันมาก
การเสนอธงชาติเมียนม้าร์แบบใหม่
ระหว่างการประชุมสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญของเมียนม่าร์ ได้มีการเสนอแบบของธงชาติใหม่เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 การเปลี่ยนธงชาติใหม่ครั้งนี้ ได้มีการเสนอเรื่องโดยคณะกรรมาธิการชุดหนึ่ง ภายใต้การดำเนินการของสภาแห่งชาติเมียนม่าร์ อย่างไรก็ตาม สื่อของทางการเมียนม่าร์ได้กล่าวในภายหลังว่า บรรดา
ผู้แทนในสภาแห่งชาติเมียนม่าร์ได้เลิกล้มความคิดดังกล่าวแล้ว การเปลี่ยนธงชาติจึงยังไม่เกิดขึ้น
ต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ.2550 ได้มีการเสนอแบบธงชาติใหม่อีกครั้ง โดยเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง-เขียว-แดง กลางมีรูปดาวสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งได้กำหนดรวมอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสหภาพเมียนม่าร์ด้วย เมื่อมีการรับรองร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จึงเท่ากับว่าเป็นการยอมรับธงชาติเมียนม่าร์ใหม่ตามประชามตินี้ด้วย ซึ่งทั้งรัฐธรรมนูญและธงชาติใหม่ เริ่มบังคับใช้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่ภายในปี พ.ศ. 2553
7.ธงชาติฟิลิปปินส์
ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่ง
ตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง
ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า
รูปดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ.1896
ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
อย่างไรก็ตาม ในคำประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1898 ได้นิยามความหมายของธงชาติต่างไปจากปัจจุบัน โดยระบุว่าสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนสมาคมคาติปูนัน (Katipunan) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่ต่อต้านการปกครองของจักรวรรดินิยมสเปน สำหรับสีแดงและสีน้ำเงินกำหนดขึ้นจากสีของธงชาติสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงออกถึงความซาบซึ้งที่สหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองชาวฟิลิปปินส์ในการต่อต้านสเปนในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ ส่วนดาวสามดวงในธง ในคำประกาศเอกราชได้กล่าวว่าดาวดวงหนึ่งในสามดวงนั้นหมายถึงเกาะปานาย ไม่ใช่หมู่เกาะวิสายัน
8.ธงชาติสิงคโปร์
ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูป
ดังกล่าวมีดาว 5 แฉก จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล
รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น
ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2508
ธงของประธานาธิบดีสิงคโปร์
ธงซึ่งใช้หมายถึงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นธงที่ดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติ พื้นเป็นธงสีแดง มีรูปหมู่ดาวและเดือนเสี้ยวขนาดใหญ่
อยู่กลางธง ตามเอกสารของทำเนียบประธานาธิบดีระบุว่าสีพื้นและรูปสัญลักษณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามลักษณะที่ปรากฏในธงชาติ ธงนี้ชักขึ้นประจำทำเนียบประธานาธิบดีระหว่างเวลา 8.00 น.-18.00น.หรือจนกว่าประธานาธิบดีจะออกจากทำเนียบเพื่อไปยังที่พักส่วนตัว
9 ธงชาติเวียดนาม
ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม
ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ.2519ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า
สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการกู้ชาติเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ได้รวมรวมเอาดินแดนเวียดนามตอนเหนือและตอนกลางบางส่วน (มณฑลตังเกี๋ยและมณฑลอันนัม) ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส และก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือประเทศเวียดนามเหนือในปี พ.ศ.2488 ส่วนดินแดนเวียดนามตอนกลางส่วนที่เหลือและเวียดนามใต้(มณฑลโคชินจีน)ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส และใช้ชื่อประเทศชื่อว่า รัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ.2489(ต่อมาหลังการลงนามสนธิสัญญาเจนีวาในปี พ.ศ.2498 จึงได้รับเอกราชและใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม)ประเทศเวียดนามทั้งสองประเทศต่างมีธงชาติของตนเอง กล่าวคือ เวียดนามเหนือใช้ธงแดงดาวทองเป็น
ธงชาติ ส่วนเวียดนามใต้คงใช้ธงเหลืองสามริ้วแดงเป็นธงชาติของตนเองต่อไปจนสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
สมัยการรวมชาติเวียดนาม
หลังประเทศเวียดนามใต้ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "เวียดกง") ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 รัฐบาลชั่วคราวของเวียดนามใต้ได้ยกเลิกธงชาติแบบเดิม และหันมาใช้ธงของขบวนการเวียดกงเป็นธงชาติแทนอยู่ระยะหนึ่ง ธงนี้เป็นธง
สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง ครึ่งล่างสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน กลางธงเป็นรูปดาวทอง 5 แฉก และได้ใช้มาจนเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมชาติกันอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลเวียดนามจึงประการใช้ธงชาติของเวียดนามเหนือเป็นธงชาติเวียดนามตราบจนทุกวันนี้
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม(ประเทศเวียดนามเหนือ)
10.ธงชาติไทย
ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ชาติ
สีขาว หมายถึง ศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า
สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย(ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4)กลับด้าน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1กับฝ่ายสัมพันธมิตรและ
สีม่วงเพื่อเป็นตัวแทนของสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น
กำเนิดของธงสยาม
ราชอาณาจักรไทย ใช้ธงแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน จากจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2199-พ.ศ.2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน)
ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์
ธงชาติไทย
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธง
พื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง
ธงเรือหลวงในรัชสมัย ธงเรือหลวงในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก แต่ในพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดงมาเป็นธงช้างเผือกในวงจักรในคราวเดียว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับ
สหราชอาณาจักรใน พ.ศ.2398 พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้
ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับ
แยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ(ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน
"ธงช้างเผือก" "ธงเกตุ" สำหรับชักที่หัวเรือหลวง
ธงชาติสยามในรัชสมัย (ต่อมาใช้เป็นธงฉานของกองทัพเรือไทย)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด
66315
views
Credit : aseanthai.net
News