สงกรานต์กับอาเซียน
โดย ... ผกามาศ ใจฉลาด
พอถึงเทศกาลสงกรานต์เดือนเมษายนของทุกปี เราก็มักจะได้ยินนิทานว่าด้วยเรื่องตำนานสงกรานต์กันค่อนข้างบ่อย จนบางท่านอาจสงสัยว่าตำนานที่ว่านั้นมาจากไหน และที่สำคัญคือรายละเอียดที่แต่ละคนเล่าก็ไม่เหมือนกัน จนสับสนว่าเนื้อหาของใครถูกของใครผิด
ก่อนอื่นคงต้องบอกว่า อย่าไปเอาเรื่องถูกหรือผิดจากนิทาน เพราะนิทานเป็นเพียงเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา โดยมักไม่รู้ว่าใครเล่าเป็นคนแรก แต่สำหรับตำนานสงกรานต์นั้นดีกว่านิทานอื่นๆ ตรงที่มีแหล่งข้อมูลไว้ใช้เทียบเคียง เพราะเรื่องดังกล่าวมีอยู่ในจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดโพธิ์ ท่าเตียน
ตำนานกล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญหรือฝ่ายมอญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร
อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับ
รุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าว
กบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
ท้าวกบิลพรหม ถาม ธรรมบาลกุมารว่า "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน" ธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา
7 วัน ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่า "ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม"
บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า "ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน"
ธรรมบาลกุมารก็ได้ยินเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมาร จึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบริจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้น นางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ใน ถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์
ว่ากันตามจริงแล้ว สงกรานต์ ไม่ได้เป็นเทศกาลเฉพาะของไทย เพราะหลายๆ ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ดังเช่น ไทย ลาว กัมพูชา พม่า ตลอดจนชนกลุ่มน้อย
ชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย ล้วนมีเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีเดือน 5 ทั้งสิ้น
ส่วนชื่อเทศกาล "สงกรานต์” ก็เป็น คำสันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่
ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เราคุ้นเคยกับสงกรานต์ เพราะเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ เดิมจึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์” หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
ที่น่าแปลกใจคือในขณะที่สงกรานต์เป็นคำภาษาสันสกฤต แต่คำว่าตรุษ ซึ่งแปลว่าการสิ้นปี ที่เป็นเทศกาลคู่กันกลับเป็นภาษาทมิฬ ความแตกต่างดังกล่าวอาจจะมาจากการที่ตรุษไทยกําหนดตามจันทรคติ จะตรงกับวันแรม 15 คํ่า เดือน 4 ซึ่งในปีนี้ตามปฏิทินหลวงจะตรงกับวันเสาร์ที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา ในขณะที่เทศกาลสงกรานต์กำหนดตามสุริยคติ ปกติจะอยู่ในช่วงวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี
เดิมทีพิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณี ในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน ยิ่งไป
กว่านั้นในการเล่นน้ำบางสถานที่ยังมุ่งเน้นในเรื่องเพศ ทำให้ความงดงามของประเพณีนี้สูญหายไปตามกาลเวลาอีกด้วย
ที่มา :คมชัดลึก
พอถึงเทศกาลสงกรานต์เดือนเมษายนของทุกปี เราก็มักจะได้ยินนิทานว่าด้วยเรื่องตำนานสงกรานต์กันค่อนข้างบ่อย จนบางท่านอาจสงสัยว่าตำนานที่ว่านั้นมาจากไหน และที่สำคัญคือรายละเอียดที่แต่ละคนเล่าก็ไม่เหมือนกัน จนสับสนว่าเนื้อหาของใครถูกของใครผิด
ก่อนอื่นคงต้องบอกว่า อย่าไปเอาเรื่องถูกหรือผิดจากนิทาน เพราะนิทานเป็นเพียงเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา โดยมักไม่รู้ว่าใครเล่าเป็นคนแรก แต่สำหรับตำนานสงกรานต์นั้นดีกว่านิทานอื่นๆ ตรงที่มีแหล่งข้อมูลไว้ใช้เทียบเคียง เพราะเรื่องดังกล่าวมีอยู่ในจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดโพธิ์ ท่าเตียน
ตำนานกล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญหรือฝ่ายมอญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร
อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับ
รุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าว
กบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
ท้าวกบิลพรหม ถาม ธรรมบาลกุมารว่า "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน" ธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา
7 วัน ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่า "ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม"
บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า "ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน"
ธรรมบาลกุมารก็ได้ยินเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมาร จึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบริจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้น นางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ใน ถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์
ว่ากันตามจริงแล้ว สงกรานต์ ไม่ได้เป็นเทศกาลเฉพาะของไทย เพราะหลายๆ ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ดังเช่น ไทย ลาว กัมพูชา พม่า ตลอดจนชนกลุ่มน้อย
ชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย ล้วนมีเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีเดือน 5 ทั้งสิ้น
ส่วนชื่อเทศกาล "สงกรานต์” ก็เป็น คำสันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่
ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เราคุ้นเคยกับสงกรานต์ เพราะเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ เดิมจึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์” หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
ที่น่าแปลกใจคือในขณะที่สงกรานต์เป็นคำภาษาสันสกฤต แต่คำว่าตรุษ ซึ่งแปลว่าการสิ้นปี ที่เป็นเทศกาลคู่กันกลับเป็นภาษาทมิฬ ความแตกต่างดังกล่าวอาจจะมาจากการที่ตรุษไทยกําหนดตามจันทรคติ จะตรงกับวันแรม 15 คํ่า เดือน 4 ซึ่งในปีนี้ตามปฏิทินหลวงจะตรงกับวันเสาร์ที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา ในขณะที่เทศกาลสงกรานต์กำหนดตามสุริยคติ ปกติจะอยู่ในช่วงวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี
เดิมทีพิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณี ในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน ยิ่งไป
กว่านั้นในการเล่นน้ำบางสถานที่ยังมุ่งเน้นในเรื่องเพศ ทำให้ความงดงามของประเพณีนี้สูญหายไปตามกาลเวลาอีกด้วย
ที่มา :คมชัดลึก
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด
2044
views
Credit : aseanthai.net
News