เส้นทางสู่ด่านลาวบาว และห้างไทยในต่างแดน
เส้นทางสู่ด่านพรมแดนลาวบาว
- ถนนหมายเลข 1ช่วง อ.ยอลิงห์ (Gio Linh) [1]จ. กวางบิงห์ (Guang Binh) –ถนนหมายเลข 9 อ.ดงฮา (Dong Ha) จ.กวางตริ (Guang Tri) –อ.ลาวบาว ด่านลาวบาว วน. ระยะทางประมาณ 180กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชม.45 นาที
สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 2ช่องจราจร มีการจำกัดความเร็ว ภูมิประเทศเป็นเนินต่ำสลับที่ราบและไต่ระดับสู่ภูเขาสูงที่มีความคดเคี้ยวตามแนวเขาใน อ.ลาวบาว เป็นถนนลาดยางสลับคอนกรีต คุณภาพเส้นทางเรียบและขรุขระในบางช่วง แต่เนื่องจากรถยนต์สัญจรน้อย จึงสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร นอกจากนี้ สามารถพบเห็นบ้านพักอาศัย ร้านค้าเรียงรายอยู่เป็นช่วง ๆ ตามแนวเส้นทาง มีการเพาะปลูกทำนาในบางส่วน
หมายเหตุ
อ.ยอลิงห์ (Gio Linh)[1]ตั้งอยู่ใน จ.กวางบิงห์ (Guang Binh) เป็นเส้นทางลัดสู่ด่านลาวบาวโดยไม่ต้องเดินทางเข้า อ.ดงเฮย (Dong Hoi) จ.กวางบิงห์ (Guang Binh) การใช้เส้นทางฯ ดังกล่าวสามารถร่นระยะทางได้ประมาณ 15 กม.
เส้นทางสู่ด่านลาวบาว และห้างไทยในต่างแดน
- ถนนหมายเลข 9ช่วง อ.ลาวบาว ด่านลาวบาว (Lao Bao) วน. –ด่านแดนสะหวัน –ด่านสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต (Savannakhet) ลาว [2]ระยะทางประมาณ250 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชม. สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 2ช่องจราจร ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์
สภาพเส้นทางเรียบและขรุขระสลับกัน พบเห็นการซ่อมแซมปรับปรุงเส้นทางเป็นระยะ ภูมิประเทศจากตะวันออกสู่ตะวันตกเป็นภูเขาสูงลดระดับลงสู่ที่ราบ พบเห็นไร่นากระจัดกระจาย บ้านเรือน 2 ข้างทางส่วนใหญ่เป็นกระท่อมหรือสร้างด้วยวัสดุไม้ ที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น ซึ่งแตกต่างจาก วน. ที่อาศัยอยู่ค่อนข้างถี่และบ้านเรือนร้านค้าก่ออิฐถือปูน
หมายเหตุ
เส้นทางหมายเลข 9 ใน สปป.ลาว[2]มี 2ด่านเก็บค่าผ่านทาง คชจ.ประมาณ 10,000 กีบ (หรือประมาณ 40บาท) เดินทางผ่าน อ.เซโปน ด่านแดนสะหวัน –อ.พีน–อ.พระลานชัย–อ.อ่างสะพังทอง–อ.อุทุมพร หรือ อ.เซโน (Seno) –อ.ไกรสรพรมวิหาร
เส้นทางในประเทศลาว
- ถนนหมายเลข 9ช่วง ด่านสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต (Savannakhet) ลาว – ด่านมุกดาหาร ระยะทางประมาณ 250 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชม.
สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทางเป็นส่วนใหญ่ และ 4 ช่องจราจรในเขตตัวเมือง สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสลับภูเขาและเนินสูงต่ำ การจราจรแออัดเป็นบางช่วง
หมายเหตุ
แขวงสะหวันนะเขตตั้งอยู่บนเส้นทาง“ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก”เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศลาว ถือเป็นพื้นที่ “อู่ข้าวอู่น้ำ”(ผลิตข้าว) ที่สำคัญของประเทศ มีทางหลวงหมายเลข 9 และหมายเลข 13 เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ สามารถเชื่อมต่อจังหวัด/เมืองสำคัญ ๆ ของประเทศไทยและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน– เซนโน (Savan-Seno Special Economic Zone)
- จ.มุกดาหาร - จ.นครพนม ระยะทางประมาณ 102 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชม. สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 4-8ช่องจราจร สภาพเส้นทางเรียบมีความพร้อมสมบูรณ์สำหรับการจราจรขนส่ง
หมายเหตุ
จ.มุกดาหาร ถือเป็น “ประตูและศูนย์การส่งออกสินค้าสู่อินโดจีนและจีนตอนใต้ (เขตฯ กว่างซีจ้วง)”โดยใช้ประโยชน์จาก “ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก”ซึ่งเน้นส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สินค้าส่งออกหลักของ จ.มุกดาหาร เน้นสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ผลไม้ ยางพารา ฯลฯ
- จ.นครพนม –จ.ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 300 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชม. สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 4-8ช่องจราจร สภาพเส้นทางเรียบ สภาพภูมิประเทศบางส่วนเป็นภูเขาและมีทางโค้งค่อนข้างมาก แต่มีความพร้อมสมบูรณ์สำหรับการจราจรขนส่ง
หมายเหตุ
จ.นครพนม ถือเป็นอีก 1 จังหวัดชายแดนไทย-ลาว เป็นที่ตั้งของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-ท่าแขก) ถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพแฝงด้านการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ระหว่างไทย-จีน (เขตฯ กว่างซีจ้วง) ในอนาคต เนื่องจากมีระยะทางสั้นที่สุด คาดว่า ภายหลังการสร้างสะพานมิตรภาพฯ แล้วเสร็จ บทบาทของ จ.นครพนมจะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- จ.ขอนแก่น –กทม. ระยะทางประมาณ 500 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 ชม. 30 นาที สภาพโดยรวมเป็นถนนลาดยาง 4-8ช่องจราจร สภาพเส้นทางกว้างและเรียบ มีความพร้อมสมบูรณ์สำหรับการจราจรขนส่ง
หมายเหตุ
จ.ขอนแก่นเป็น 1 ในจุดตัดระหว่างระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้และระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นศูนย์กลางการค้า ศูนย์กลางการเงิน และตลาดกระจายสินค้าในภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรเป็นสินค้าหลัก เมื่อปี 2545 จ.ขอนแก่นและนครหนานหนิงได้ร่วมลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ “บ้านพี่เมืองน้อง”