'สงกรานต์' สายน้ำแห่งอาเซียน
'สงกรานต์' สายน้ำแห่งอาเซียน : ผกามาศ ใจฉลาด
ประเพณีสงกรานต์นั้น ไม่ใช่เป็นของไทยประเทศเดียว แต่เป็นของชาวลาว พม่า กัมพูชา มาเลเชีย ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบมณฑลยูนนานของจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดียด้วย วันนี้ อมรรัตน์ ลีเพ็ญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเครือข่ายและชุมชน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะมาเล่าถึงความเหมือนที่แตกต่างของประเพณีเดือน 5 ในภูมิภาคแถบอาเซียนและเอเชียกันพอสังเขป
ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ของประเทศที่อยู่ในแถบร้อน สงกรานต์ประเทศลาว หรือ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” อยู่ในช่วงใกล้ๆ กับของไทย คือ 14-16 เมษายน วันที่ 14 "วันสังขารล่อง” มีพิธีปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง วันที่ 15 "วันเนา” มีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ วันที่ 16 ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีหลายกิจกรรมที่คล้ายกับเรา เช่น มีการทำบุญ สรงน้ำพระพุทธรูป แต่เสน่ห์ก็คือ ยังไม่มีการเล่นน้ำที่ค่อนไปทางหวาดเสียว โลดโผน รุนแรง เพราะด้วยสภาพบ้านเมืองที่ยังคงสวยงามตามแบบฉบับดั้งเดิม
วันสงกรานต์ของประเทศพม่า เรียกสั้นๆ ว่า เหย่บะแวด่อ (คำว่า เหย่ แปลว่า "พิธีน้ำ" ส่วน บะแวด่อ แปลว่า "เทศกาล”) ซึ่งทางการพม่าได้ประกาศให้เป็นวันหยุดแห่งชาติถึง 10 วัน ขนมประจำวันสงกรานต์ คือ ขนมต้ม และมี ประดู่ หรือปะเด้าก์ เป็นดอกไม้ประจำเทศกาล แต่เดิมในพม่านั้นเล่นน้ำกันอย่างนุ่มนวล โดยการประพรมน้ำจากขันเงินด้วยใบหว้า ซึ่งเป็นไม้มงคล ผู้คนเข้าวัดทำบุญ แต่ระยะหลังก็ได้มีการเล่นสาดน้ำรุนแรง แต่ทางการพม่าสั่งห้ามเด็ดขาด มีกำหนดโทษหนักถึงจำคุก และเคยพบว่ามีผู้ทำผิดถูกประจานทางหนังสือพิมพ์บอกถึงชื่อพ่อแม่ให้รับรู้ทั่วประเทศ
ประเพณีสงกรานต์ของดินแดนแห่งนครวัด นครธม ประเทศกัมพูชา นั้นมี 3 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ 14-16 เมษายน เรียกว่าเทศกาล "โจลชนัมทเมย วันแรกเป็นวันแห่งการทำบุญตักบาตร มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อเตรียมก่อเจดีย์ วันที่สองเป็นวันครอบครัวที่ลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่ อาจจะมีการให้เงินหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เป็นของขวัญ ส่วนในช่วงหัวค่ำจะช่วยกันก่อเจดีย์ทราย และวันที่สามก็จะมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ โยนสะบ้า จากนั้นก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล คล้ายกับสงกรานต์ของไทย
วันสงกรานต์ของประเทศมาเลเซีย ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านตาเซะ อำเภอฮูลูเปรัค รัฐเปรัค ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ โดยตั้งแต่ในช่วงเช้ามีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรจากคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้องและผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทย ส่วนบรรยากาศการสาดน้ำก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีประชาชนในหมู่บ้านออกมารวมตัวกันประแป้งและเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน โดยชาวบ้าน หนุ่มสาว ส่วนใหญ่จะนิยมการประแป้ง ส่วนการสาดน้ำและใช้ปืนฉีดน้ำจะอยู่ในส่วนของเด็กๆ
วันสงกรานต์ของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจี่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ 13-15 เมษายน เรียกว่าเทศกาล "พัวสุ่ยเจี๋ย” ชาวไตจะจัดกิจกรรมฉลองอย่างเอิกเกริกหลายประการ เช่น แข่งเรือมังกร การโยนกระเป๋าแห่งความรัก การปล่อยโคมขงเบ้ง และระบำท่านกยูงและท่าช้าง ระบำท่าช้างมีท่ารำคือให้รำเป็นวงกลมตามจังหวะกลอง และร้องเพลงไปด้วย ท่ารำจะมีลักษณะสง่างามและปีติยินดี ส่วนระบำนกยูงที่มีท่าทางงดงาม เป็นจิตวิญญาณของชนชาติไตในสิบสองปันนาทีเดียว
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ไทยนั้น วีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์มีหลายประเทศที่มีเหมือนไทย เช่น พม่า ลาว กัมพูชา ชาวไตในมณฑลยูนนานของจีน รวมทั้งชาวพุทธที่อยู่ตอนเหนือของมาเลเซีย ถือเป็นมรดกร่วมของอาเซียนและเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์อาเซียน ใช้วัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจในหมู่ประชาคมอาเซียน เช่น สงกรานต์ อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นการจัดร่วมกันระหว่างไทยกับลาว
นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมไปสู่นานาชาติ เช่น ในปี 2556 นี้ ชุมชนชาวไทย ลาว กัมพูชา ร่วมกันจัดสงกรานต์อาเซียนในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า"ภาพลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากเทศกาลที่มีความงดงาม มีความหมาย ก็เป็นความสนุกสนานรื่นเริง ถือเป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมที่เป็นพลวัต แต่ไม่อยากให้ละเลยสิ่งดีงามที่มีมาแต่อดีต เช่น การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา และขอพรจากผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำรงชีวิต แต่สิ่งสำคัญคือ การทำพิธีบังสุกุลทำบุญให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว และถือเป็นการรวมญาติในเทศกาลดังกล่าวด้วย”
ประเพณีสงกรานต์นั้น ไม่ใช่เป็นของไทยประเทศเดียว แต่เป็นของชาวลาว พม่า กัมพูชา มาเลเชีย ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบมณฑลยูนนานของจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดียด้วย วันนี้ อมรรัตน์ ลีเพ็ญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเครือข่ายและชุมชน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะมาเล่าถึงความเหมือนที่แตกต่างของประเพณีเดือน 5 ในภูมิภาคแถบอาเซียนและเอเชียกันพอสังเขป
ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ของประเทศที่อยู่ในแถบร้อน สงกรานต์ประเทศลาว หรือ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” อยู่ในช่วงใกล้ๆ กับของไทย คือ 14-16 เมษายน วันที่ 14 "วันสังขารล่อง” มีพิธีปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง วันที่ 15 "วันเนา” มีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ วันที่ 16 ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีหลายกิจกรรมที่คล้ายกับเรา เช่น มีการทำบุญ สรงน้ำพระพุทธรูป แต่เสน่ห์ก็คือ ยังไม่มีการเล่นน้ำที่ค่อนไปทางหวาดเสียว โลดโผน รุนแรง เพราะด้วยสภาพบ้านเมืองที่ยังคงสวยงามตามแบบฉบับดั้งเดิม
วันสงกรานต์ของประเทศพม่า เรียกสั้นๆ ว่า เหย่บะแวด่อ (คำว่า เหย่ แปลว่า "พิธีน้ำ" ส่วน บะแวด่อ แปลว่า "เทศกาล”) ซึ่งทางการพม่าได้ประกาศให้เป็นวันหยุดแห่งชาติถึง 10 วัน ขนมประจำวันสงกรานต์ คือ ขนมต้ม และมี ประดู่ หรือปะเด้าก์ เป็นดอกไม้ประจำเทศกาล แต่เดิมในพม่านั้นเล่นน้ำกันอย่างนุ่มนวล โดยการประพรมน้ำจากขันเงินด้วยใบหว้า ซึ่งเป็นไม้มงคล ผู้คนเข้าวัดทำบุญ แต่ระยะหลังก็ได้มีการเล่นสาดน้ำรุนแรง แต่ทางการพม่าสั่งห้ามเด็ดขาด มีกำหนดโทษหนักถึงจำคุก และเคยพบว่ามีผู้ทำผิดถูกประจานทางหนังสือพิมพ์บอกถึงชื่อพ่อแม่ให้รับรู้ทั่วประเทศ
ประเพณีสงกรานต์ของดินแดนแห่งนครวัด นครธม ประเทศกัมพูชา นั้นมี 3 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ 14-16 เมษายน เรียกว่าเทศกาล "โจลชนัมทเมย วันแรกเป็นวันแห่งการทำบุญตักบาตร มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อเตรียมก่อเจดีย์ วันที่สองเป็นวันครอบครัวที่ลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่ อาจจะมีการให้เงินหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เป็นของขวัญ ส่วนในช่วงหัวค่ำจะช่วยกันก่อเจดีย์ทราย และวันที่สามก็จะมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ โยนสะบ้า จากนั้นก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล คล้ายกับสงกรานต์ของไทย
วันสงกรานต์ของประเทศมาเลเซีย ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านตาเซะ อำเภอฮูลูเปรัค รัฐเปรัค ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ โดยตั้งแต่ในช่วงเช้ามีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรจากคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้องและผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทย ส่วนบรรยากาศการสาดน้ำก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีประชาชนในหมู่บ้านออกมารวมตัวกันประแป้งและเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน โดยชาวบ้าน หนุ่มสาว ส่วนใหญ่จะนิยมการประแป้ง ส่วนการสาดน้ำและใช้ปืนฉีดน้ำจะอยู่ในส่วนของเด็กๆ
วันสงกรานต์ของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจี่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ 13-15 เมษายน เรียกว่าเทศกาล "พัวสุ่ยเจี๋ย” ชาวไตจะจัดกิจกรรมฉลองอย่างเอิกเกริกหลายประการ เช่น แข่งเรือมังกร การโยนกระเป๋าแห่งความรัก การปล่อยโคมขงเบ้ง และระบำท่านกยูงและท่าช้าง ระบำท่าช้างมีท่ารำคือให้รำเป็นวงกลมตามจังหวะกลอง และร้องเพลงไปด้วย ท่ารำจะมีลักษณะสง่างามและปีติยินดี ส่วนระบำนกยูงที่มีท่าทางงดงาม เป็นจิตวิญญาณของชนชาติไตในสิบสองปันนาทีเดียว
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ไทยนั้น วีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์มีหลายประเทศที่มีเหมือนไทย เช่น พม่า ลาว กัมพูชา ชาวไตในมณฑลยูนนานของจีน รวมทั้งชาวพุทธที่อยู่ตอนเหนือของมาเลเซีย ถือเป็นมรดกร่วมของอาเซียนและเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์อาเซียน ใช้วัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจในหมู่ประชาคมอาเซียน เช่น สงกรานต์ อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นการจัดร่วมกันระหว่างไทยกับลาว
นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมไปสู่นานาชาติ เช่น ในปี 2556 นี้ ชุมชนชาวไทย ลาว กัมพูชา ร่วมกันจัดสงกรานต์อาเซียนในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า"ภาพลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากเทศกาลที่มีความงดงาม มีความหมาย ก็เป็นความสนุกสนานรื่นเริง ถือเป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมที่เป็นพลวัต แต่ไม่อยากให้ละเลยสิ่งดีงามที่มีมาแต่อดีต เช่น การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา และขอพรจากผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำรงชีวิต แต่สิ่งสำคัญคือ การทำพิธีบังสุกุลทำบุญให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว และถือเป็นการรวมญาติในเทศกาลดังกล่าวด้วย”
เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด
1428
views
Credit : aseanthai.net
News