ทำธุรกิจในไทยอยู่อันดับที่ 18 จาก 185ของโลก และที่ 3ในอาเซียน


Doing Business…เป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกซึ่งธนาคารโลกจัดทำขึ้น โดยศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมุ่งเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ซึ่งมีตัวชี้วัดในการศึกษา 10 ด้าน ครอบคลุมพื้นฐานของวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ โดยธนาคารโลกเริ่มเผยแพร่รายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2004(พ.ศ.2547)ซึ่งเป็นการสำรวจใน 133 ประเทศ
 
สำหรับในประเทศไทยธนาคารโลกเริ่มเข้ามาสำรวจในปี ค.ศ.2005(พ.ศ.2548) และในรายงานฉบับล่าสุดปี ค.ศ.2013(พ.ศ.2556)มีจำนวนประเทศที่ธนาคารโลกดำเนินการสำรวจถึง 185 ประเทศ โดยผลการสำรวจการจัดอันดับความยากง่ายของประเทศไทย
 
ในปี 2005 อยู่ในลำดับที่ 20 จาก 145 ประเทศ
ในปี 2006 อยู่ในลำดับที่ 20 จาก 155 ประเทศ
ในปี 2007 อยู่ในลำดับที่ 18 จาก175 ประเทศ
ในปี 2008 อยู่ในลำดับที่ 15 จาก 178 ประเทศ
ในปี2009 อยู่ในลำดับที่ 13 จาก 181 ประเทศ
ในปี 2010 อยู่ในลำดับที่12 จาก 183 ประเทศ
ในปี 2011 อยู่ในลำดับที่ 19 จาก 183 ประเทศ
ในปี 2012 อยู่ในลำดับที่ 17 จาก 183 ประเทศ
ในปี 2013 อยู่ในลำดับที่ 18 จาก 185 ประเทศ

ขอเรียนว่าวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานผลการวิจัยเรื่องDoing Business 4 ประการ ได้แก่
 
1.เพื่อให้เกิดความง่ายในการดำเนินการ (Easier)
2.เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการ (Faster)
3.เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ (Cheaper)
4.เพื่อให้กฎหมายกฎระเบียบเอื้อต่อการดำเนินการ (Smarter regulations)
 
โดยรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ไม่สามารถสอบถามในทุกหน่วยงานคงเกิดจากมีจำนวนประเทศที่ต้องทำการสำรวจมากและต้องดำเนินการทุกปี ได้สำรวจกับบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย (ส่วนใหญ่เป็น Law Firms ระหว่างประเทศ) ด้านบัญชีของธุรกิจ บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อว่าบริษัท เหล่านี้ทำงานกับธุรกิจหลายประเภท จึงมีความรู้เป็นอย่างดีทั้งกระบวนการดำเนินการและผลการดำเนินการ
 
ส่วนวิธีการคำนวนเพื่อจัดอันดับ Doing Business ของธนาคารโลกนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดย่อยของตัวชี้วัดทั้ง10ด้าน และจำนวนเรื่องในการปรับปรุง(Reform)ที่ประเทศต่างๆ ดำเนินการในแต่ละปี

สำหรับผลการจัดอันดับในปี 2013การสำรวจของธนาคารโลกประกอบด้วย 10ด้าน ครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการปรากฏผลกล่าวคือ
 
1.การเริ่มต้นธุรกิจ (Starting a Business)
  :อันดับ 1นิวซีแลนด์ (ไทย อันดับ 85)
 
2.การขออนุญาตก่อสร้าง(Dealing with Construction Permits)
  :อันดับ 1ฮ่องกง(ไทยอันดับ 16)
 
3.การขอใช้ไฟฟ้า(Getting Electricity)
  :อันดับ 1ไอซ์แลนด์(ไทยอันดับ 10)
 
4.การจดทะเบียนทรัพย์สิน(Registering Property)
  :อันดับ 1จอร์เจีย(ไทยอันดับ 26)
 
5.การได้รับสินเชื่อ(Getting Credit)
  :อันดับ 1มี 3ประเทศ คือ อังกฤษ มาเลเซีย แอฟริกาใต้ (ไทยอันดับ70)
 
6.การคุ้มครองผู้ลงทุน(Protecting Investors)
  :อันดับ 1นิวซีแลนด์ (ไทยอันดับ 13)
 
7.การชาระภาษี(Paying Taxes)
  :อันดับ 1สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเกือบเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่เก็บภาษีเงิน No VAT – No Income Tax (ไทยอันดับ 96)
 
8.การค้าระหว่างประเทศ(Trading Across Borders)
  :อันดับ 1สิงคโปร์ (ไทยอันดับ 23)
 
9.การบังคับให้เป็นไปตามสัญญา(Enforcing Contracts)
  :อันดับ 1ลักเซมเบิร์ก(ไทยอันดับ 23)
 
10.การแก้ปัญหาการล้มละลาย(Resolving insolvency)
  :อันดับ 1ญี่ปุ่น(ไทยอันดับ 85)

ตัวเลขของประเทศไทยปีล่าสุดอยู่ในอันดับ 18 และจัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน คงไม่หวังว่าจะเป็นที่ 1 ในอาเซียน เพราะโครงสร้างของประเทศและเงื่อนไขต่างๆของสังคมแตกต่างจากประเทศสิงค์โปรผู้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคนี้ค่อนข้างมาก
 
โดยส่วนตัวแล้วเราปรับอะไรก็ตามต้องยึดถึงหลัก”ความถูกต้องและความชัดเจน”การที่เราพัฒนาได้เร็วขึ้นเกิดจากขั้นตอนที่ลดลงด้วยความร่วมมือของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัด พร้อมใช้เทคโนโลยีทันสมัย-เข้ามาช่วยและได้อันดับที่ดีขึ้นแต่ไม่สามารถตอบคำถามเต็มปากเต็มคำว่า "ยังคงมาตรฐานความถูกต้องเหมือนเดิมหรือไม่? หรือเข้ามาตรฐานสากลที่เกิดผลรวมดีต่อเนื่อง?” นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งแต่ปัญหาใหญ่เป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจที่สร้างโอกาสให้เขาเพิ่มและเราได้อย่างลงตัวและเหมาะสมหรือยัง? มีหลายคนพูดอยู่เสมอว่าทำอะไรก็อยากได้ Win-Win เป็นคำพูดง่ายที่สุด-แต่ทำยากมากในเชิงการค้า

อย่างไรก็ตาม ถ้ามี 2คนก็มีความเป็นไปได้สูงเหมือนกับโยนเหรียญ 2เหรียญโอกาสหัว-หัว /หัวก้อย/ ก้อย-หัว /ก้อย-ก้อย มีทั้งหมด 4เหตุการณ์ยิ่งมากเหรียญหรือยิ่งมากคนความลงตัวก็จะยากขึ้น ฉะนั้น หากเข้าใจสิ่งเหล่านี้และนำเข้ามาประกอบพิจารณาด้วย จะช่วยเสริมหรือกระตุ้นจิตสานึกที่ดีเป็นประโยชน์ต่อชาติในเชิงยุทธศาสตร์
 
ถ้าเราเป็นเหรียญอันแรกแล้วได้หัว-หัว หรือ หัว-ก้อย ก็เป็นเรื่องที่ดี ในทางผลลัพธ์อื่นได้ก้อย-หัวแต่ถูกสภาพบังคับแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ต้องต่อรองให้มีสิ่งชดเชยได้ถ้าเข้าใจ-มั่นใจทำให้ดีขึ้นแล้วความสามารถในการประกอบธุรกิจของคนไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ดีขึ้น…นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง
 
แต่ถ้าหากว่าทำแล้วง่ายกว่า (Easier)เร็วกว่า (Faster)ถูกกว่า(Cheaper) ตามแนวคิด Doing Business ของ World Bank ที่ต้องการเปิดโอกาสทุกชนชาติเข้าแข่งขันทางธุรกิจได้กว้างขวางแต่คนของเราไปไม่ถึง…ต้องตรอง นี่ก็เป็นมุมคิด…ทำเพื่อเป้าหมายอะไร?…หรือทำในระดับพอควรที่จะได้โดยรวมมากกว่า?

 
ที่มา : ศิริพล ยอดเมืองเจริญ (สยามรัฐ)



 

เครดิตและบทความเรื่องอื่นๆของ aseanthai.net ดูทั้งหมด

736

views
Credit : aseanthai.net


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน